ณัฐพล บุญสมบังอร กรวิรัตน์อุปถัมภ์ ชมภูมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร2021-06-292021-06-292564-06-292561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62783ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 88ในการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น พระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม ถือเป็นหัวใจหลักของการศึกษา แต่ด้วยวิธีการจัดกลุ่มเนื้อหาและอ้างอิงโดยใช้เลขที่เล่มและข้อเป็นหลัก ผู้ศึกษาจึงมักประสบปัญหาเมื่อต้องการอ้างอิงเนื้อหาในข้อที่มีความยาวมาก ๆ บางข้ออาจกินพื้นที่หลายหน้ากระดาษ ทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงหรือเทียบเคียงเนื้อหาระหว่างพระไตรปิฎกภาษาบาลีกับภาษาไทย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในสมัยนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ (BUDSIR) ได้มีดำริให้เพิ่มย่อหน้าเข้า ไปอีกชั้นหนึ่งรองจากข้อ เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและการเทียบเคียงที่ละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้นในขั้นตอนการเพิ่มเติมย่อหน้า ปัญหาที่พบคือการใช้เวลาตรวจสอบ/เทียบเคียงนานเกินไป และต้องทำหลายรอบ จึงได้คิดสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยผู้ ตรวจสอบเพื่อลดเวลาในการตรวจสอบ/เทียบเคียงให้สั้นลงthaมหาวิทยาลัยมหิดลการเทียบเคียงพระไตรปิฎกBUDSIRMahidol Quality Fairเครื่องมือช่วยเทียบเคียงการกำหนดข้อย่อยในเนื้อหาพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยกับบาลีProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล