นักรบ ระวังการณ์พราม อินพรมวรรณชลี โนริยาปฐมพร สมบัติทวี2024-01-222024-01-22255725672557วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93471การจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนาน้ำใจนักกีฬาเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปัณณวิชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ (1) เตรียมการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้แบบสำรวจความจำเป็นและความต้องการในการฝึกอบรมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครูพลศึกษา และผู้นำชุมชน จำนวน 181 คน (2) ขั้นสร้างหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วยวัตถุประสงค์ทั่วไป วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหาสาระการจัดประสบการณ์ในการฝึกอบรม (3) ขั้นฝึกอบรมและประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 33 คน เป็นเวลา 1 วัน ประเมินผล การฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังฝึกอบรม แบบวัดความเข้าใจต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เรื่องน้ำใจนักกีฬาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ นักเรียนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนที่เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่มีความพึงใจในระดับมากเช่นกัน สาหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการเพิ่มวันของการฝึกอบรมและควรจัดฝึกอบรมนอกสถานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์และศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นThis research aimed to create and evaluate a training curriculum for development of sportsmanship to implement in everyday life. The three research steps were as follows: The first step was preparing to create the training curriculum, in which the researcher surveyed the training needs and the needs of students, students' parents, school administrators, physical education teachers, and community leaders (a total of 181 people) to use as basic information. The second step was the creation of the training curriculum, consisting of general objectives, behavioral objectives, contents, arranging the training experiences, and the training process. The third step was the training and evaluation of the training curriculum with the sample group consisting of 33 Prathom 6 students over the course of a single day. The researcher evaluated the training by using a pre-test and post-test on knowledge, understanding the test form for use in daily life, and the evaluation form assessing the satisfaction with the training. The research results found that students participating in the training had significantly more knowledge on sportsmanship, at the level of 0.05. The mean of these students' understanding of its use in daily life was at a high level. Most of these students were satisfied at a high level. Regarding further suggestions, the researcher suggests there should be more training days and information, alongside a field trip practice conference in order for students to gain more experience and more self-learning.ก-ฎ, 186 แผ่น : ภาพประกอบสีapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการฝึกอบรม -- หลักสูตรความมีน้ำใจนักกีฬาการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาน้ำใจนักกีฬาเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต : กรณีศึกษานักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปัณณวิชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาA training curriculum development of sportsmanship to implement every day life : a case study of prathom 6 students at Pannawit School, Phranakhon Si AyutthayaMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล