Chokechai SuttawetGamolporn SonsriRatthasirin WangkanondWilailak Yoosamran2024-01-102024-01-10201820182024Thesis (D.P.A. (Public Policy and Public Management))--Mahidol University, 2018https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92251Public Policy and Public Management (Mahidol University 2018)The research aimed to study the development of public policy and administration on social security, as well as explore factors affecting the directions and changes in public policy as related to social security for ASEAN migrant workers, including the study of operational conditions and problems of public agencies in charge of social insurance benefits protection for Thai overseas migrant workers in the host countries: Singapore, Malaysia, and Brunei, and lastly develop schemes and guidelines on social insurance benefit protection for such migrants. This study was a mixed-method research employed concurrent procedure of the qualitatively-driven core component coupled with simultaneous QUAL+quan. Qualitative data were collected using in-depth interviews with 55 key informants and 30 Thai migrant workers for focus group discussion. The sample groups of the quantitative research selected by purpose sampling were 275 Thai migrant workers. Research revealed that the development of policy and administration on social security for ASEAN migrant workers had not obviously conducted joint operation between ASEAN member countries. Factors affecting the directions and changes in public policy as related to social security for ASEAN migrant workers comprised of economic, social, political, technological factors and international organization in which technological factor was less mentioned than other factors. Meantime, the operation conditions and problems of agencies in charge of social insurance protection for Thai migrant workers involved numerous limitations, especially on the short-term benefit, including obstacles imposed by different countries. This created inferior treatments for Thai migrant workers as compared to the country own citizens. As for possible schemes and guidelines for social insurance benefit protection for Thai migrant workers, only Thailand measures or the measures of country of origin were most appropriate and likely applied, followed by measures of disputed countries. Nonetheless, bi-lateral measures and ASEAN's multi-country measures were difficult to operate, especially the latter measure is the most difficult because it is imperative to amend laws in each country prior to negotiation and making of long-term agreement.งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะด้านความมั่นคงทางสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติอาเซียน ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน) รวมทั้งพัฒนาแบบแผนและแนวทางที่ควรจะเป็นในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (mixed methods research) ที่ดำเนินการพร้อมกัน (concurrent procedure) โดยการใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก (the qualitatively-driven core component) และเสริมด้วยวิธีการเชิงปริมาณ (the simultaneous QUAL+quan) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 55 คน และการจัดสนทนากลุ่มกับแรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน จำนวน 30 คน สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามกับแรงงานไทยที่กำลังทำงานในทั้ง 3 ประเทศ จำนวน 275 คน ผลการศึกษา พบว่า พัฒนาการของนโยบายและการบริหารด้านความคุ้มครองความมั่นคงทางสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในอาเซียนยังไม่มีมาตรการดำเนินการร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่ชัดเจนสำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะด้านความมั่นคงทางสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติอาเซียนประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านเทคโนโลยี และ ด้านองค์การระหว่างประเทศ โดยปัจจัยด้านเทคโนโลยีจะถูกกล่าวถึงน้อยกว่าปัจจัยอื่น ๆ ขณะที่สภาพการ ดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการคุ้มครองความมั่นคงทางสังคมสำหรับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ พบว่า มีข้อจำกัดมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่มักเป็นสิทธิประโยชน์ระยะสั้น รวมทั้งอุปสรรคจากเงื่อนไขต่าง ๆ ในแต่ละประเทศที่ทำให้แรงงานไทยมักได้รับความไม่เท่าเทียมเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานที่เป็นคนในชาติปลายทางในสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ส่วนแบบแผนการคุ้มครองและแนวทางการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศที่ควรจะเป็นนั้น มาตรการฝ่ายเดียวของประเทศไทยหรือประเทศต้นทางมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือมาตรการสองฝ่ายของประเทศคู่กรณี แต่มาตรการสองฝ่าย และมาตรการหลายฝ่ายในนามอาเซียน ซึ่งประการหลังสุดนี้ ดำเนินการได้ยากที่สุด เนื่องจากจำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายภายในของแต่ละประเทศเสียก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเจรจาและสร้างข้อตกลงร่วมในระยะยาวxiii, 353 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าSocial securitySocial security beneficiaries -- Services forForeign workers, Thai -- Southeast AsiaThe development of public policy and administration on social security in ASEAN : a case study of social insurance for Thai migrant workersพัฒนาการของนโยบายสาธารณะและการบริหารด้านความมั่นคงทางสังคมในอาเซียน : กรณีศึกษาการประกันสังคมสำหรับแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศDoctoral ThesisMahidol University