ภาวิณี สอนใจภณิตา เกตุวีระพงศ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี2021-09-282021-09-282564-09-282561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63726ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 267ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-Associated Pneumonia: VAP) มีผลทำให้ผู้ป่วยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น นอนใน ICU นานและเสียชีวิตได้ แม้ว่าหอผู้ป่วยวิกฤตศัลกรรมอุบัติเหตุ(4IT) ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิด VAP “VAP Bundle” ที่หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อกำหนด (Infection Control; IC) อย่างเคร่งครัด แต่รายงานของหน่วย IC ประจำปี 2559 พบว่าอัตรการเกิด VAPของผู้ป่วยใน 4IT เท่ากับ 2.67 ต่อ 1000 วันที่ใช่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นหน่วยงานจึงพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิด VAP “4IT VAP Bundle” และนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2560 โดยมีเป้าหมายทำให้อัตรการเกิด VAP น้อยกว่า 2 ต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลจากการปฏิบัติตาม “4IT VAP Bundle” พบว่าอัตรการเกิด VAP เท่ากับ 0 ต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และบุคลากรในหน่วยงานพึงพอใจกับแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมา จึงสรุปได้ว่า ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิด VAP “4IT VAP Bundle” สามารถป้องกันการเกิด VAP ได้และผู้ปฏิบัติพึงพอใจthaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจผู้ป่วยวิกฤตหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุเครื่องช่วยหายใจผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลรามาธิบดีProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล