ภรณี วัฒนสมบูรณ์อลงกรณ์ เปกาสีอาภาพร เผ่าวัฒนาลักขณา เติมศิริกุลชัยParanee VatanasomboonAlongkorn PekaleeArpaporn PowwattanaLakkhana Temsirikulchaiมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข2021-09-272021-09-272564-09-272561วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 48, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2561), 57-702697-584X (Print)2697-5866 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63686ทักษะชีวิตเป็นปัจจัยปกป้องสำคัญสำหรับเด็ก วัยเรียนที่สามารถพัฒนาได้โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อ การสอน การศึกษานี้เป็นการประเมินผลการรับสื่อการ์ตูน การสอนทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-3 ไปใช้ในการสอนของโรงเรียนขยายโอกาสที่ ทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) วิธีการ และคุณภาพของการนำสื่อไปใช้ในการสนับสนุน การสอนทักษะชีวิต 2) การตอบสนองต่อสื่อของครู และนักเรียน และ 3) การเปลี่ยนแปลงทักษะชีวิต ของนักเรียน เก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มครูผู้ใช้สื่อ และนักเรียนของห้องเรียนที่มีการนำสื่อไปใช้ โดยใช้ แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองและแนวคำถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า สื่อชุดนี้นำไป ใช้สนับสนุนกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตในส่วนของกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนโดยนำไปใช้สอนในวิชาแนะแนวเป็น ส่วนใหญ่ คุณภาพของการนำสื่อไปใช้ในภาพรวมจัดอยู่ ในระดับพอใช้ การตอบสนองต่อสื่อพบว่าทั้งกลุ่มครู และนักเรียนมีความเห็นทางบวกต่อสื่อชุดนี้ ทักษะชีวิต ของนักเรียนที่ประเมินเมื่อปลายภาคการศึกษาเพิ่มขึ้น เล็กน้อยอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ผลการประเมิน ชี้ให้เห็นว่า การรับสื่อไปใช้ของโรงเรียนโดยผ่านทาง ครูผู้สอนนั้นจำเป็นต้องเน้นที่วิธีการในการนำไปใช้ เพื่อให้สามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะชีวิต ของนักเรียนได้Life skills, a crucial protective factor for school age children, can be developed through learning from instructional media. This study evaluated the adoption of a life-skill instructional cartoon for grade 1-3 students by the opportunity expansion schools network with the Thai Health Promotion Foundation. The objectives were to (1) assess use of media in supporting life-skill instruction and quality of use, (2) assess reactions to the media among teachers and students and (3) evaluate the outcome of change in life skills among students. Data were collected using self-administered questionnaires and interview guidelines from teachers employing media and students who received teaching with the media. The results revealed that the media was used to support life-skill enhancing activities as a part of learner development activities, particularly the subject of guidance. Use of media among teachers was determined at a fair level of quality. Both teachers and students positively responded to the media. A signifi cantly small increase in students’ life skills was found when evaluating at the end of the semester (p< 0.001). The evaluation results suggest that adopting media in schools by teachers needs to focus on media use to achieve the student’s life-skill learning outcomes.thaทักษะชีวิตสื่อการ์ตูนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3life skillsinstructional cartoongrade 1-3 studentsการประเมินผลการรับสื่อการ์ตูนการสอนทักษะชีวิตไปใช้ของโรงเรียนขยายโอกาสที่ทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพEvaluating Adoption of a Life-Skill Instructional Cartoon by the Opportunity Expansion Schools Network with the Thai Health Promotion FoundationOriginal Article