วิริณธิ์ กิตติพิชัยพัชราพร เกิดมงคลทินกร ทิพย์สูตร์2024-01-092024-01-09256325632567สารนิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91989สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การจัดการตนเองเป็นแนวทางที่แนะนาให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใช้เพื่อการควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคโดยเฉพาะในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มุ่งให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมการจัดการตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 270 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่าง 2 ใน 3 มีพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับที่เหมาะสม โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทักษะการควบคุมตนเองการสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึงบริการสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว (p < 0.001) ระยะเวลาในการเจ็บป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และอายุ (p < 0.05) และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง การเข้าถึงบริการ และอายุ (เบต้า = 0.576, 0.150, และ 0.114 ตามลำดับ) โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ร้อยละ 41.10 จึงมีข้อเสนอแนะให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องว่า ควรมีการจัดกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยและครอบครัวผ่านการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อสนับสนุนความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเองและนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้Self-management is a guideline recommended to patients with noncommunicable diseases to prevent complications of the disease, especially hypertensive patients, aiming to enable these patients to control their blood pressure. The cross-sectional correlation study aims to examine the self-management behaviors and associated factors among hypertensive patients. The samples were 270 hypertensive patients in a hospital in Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Data collection was done through interviews and a questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics. The statistical significance level is less than 0.05. The results revealed that 2 in 3 of the samples had appropriate selfmanagement behaviors. Factors associated with self-management behaviors were perceived self-efficacy, self-regulation skills, social support, access to healthcare services, family relationships (p < 0.001), duration of hypertension, and age (p < 0.05). The three predictors of self-management behaviors among hypertensive patients consisted of perceived self-efficacy, access to healthcare services, and age (Beta = 0.576, 0.150, and 0.114, respectively), which accounted for 41.10% of the variance in self-management behaviors. Health personnel should organize activities for developing the capability of patients and family members, as well as visiting their homes regularly to provide helpful knowledge and information that would encourage patients to have confidence in self-efficacy, and deal with several problems.ก-ญ, 120 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วยความดันเลือดสูง -- การดูแลความดันเลือดสูง -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยาพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาSelf-management behaviors among hypertensive patients in a hospital in Phra Nakhon Si Ayutthaya provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล