พิมฐ์สุภาชินี ธนะวงศ์โสมวดี พรพระไชยรัตน์ เลอสวรรค์วารีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-302021-09-302564-09-302561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63755ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 255นวัตกรรมจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน ได้เข้าใจในการหมุนเวียนตำแหน่งได้ถูกต้อง และสามารถรู้ว่าตรงจุดไหนที่ฉีดอินซูลินไปแล้ว เพื่อป้องกันการฉีดซ้ำตำแหน่งเดิม ทำให้สามารถลดการเกิดก้อนนูนแข็งได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมยาอินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้แผ่นหนังเทียมเจาะรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ซึ่งแผ่นหนังเทียม แบ่งออกเป็น 3 ขนาด 4 รูปแบบ ได้แก่ ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่แบบสะดือย้อย แต่ละขนาดจะมีจำนวนรูฉีดยาที่ไม่เท่ากัน และแต่ละรูฉีดยาจะมี หมายเลขกำกับ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถระบุได้ว่าหมายเลขรูฉีดยานี้ได้ฉีดไปแล้ว และจดบันทึกในปฏิทินตำแหน่งฉีดยา ที่มีติดพร้อมกับแผ่นหนังเทียม จากการที่นำให้ผู้ป่วยไปทดลองใช้พบว่า ผู้ป่วยมีความเข้าใจและสามารถหมุนเวียน ตำแหน่งในการฉีดยาอินซูลินได้ถูกต้องในระดับมากถึงมากที่สุดถึงร้อยละ 80และอุบัติการณ์เกิดก้อนแข็งนูน (Lipohypertrophy) เท่ากับ 0thaมหาวิทยาลัยมหิดลLipohypertrophyInsulin injection siteRotation site labelอินซูลินผู้ป่วยเบาหวานแผนที่พุงProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล