นุช ตันติศิรินทร์อัมพา จิตอารีNuj TontisirinAmporn Jitareeมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา2022-10-052022-10-052565-10-052554รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2554), 58-760125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79814Acute postoperative pain คือลักษณะอาการปวดที่เกิดจากแผลผ่าตัดหรือเกี่ยวเนื่องกับการผ่าตัด กลไกลของความเจ็บปวด (Pain Pathways) การผ่าตัดทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและมีการหลั่งสารกระตุ้นทำให้เกิดความปวด (noxious stimuli) เช่นprostaglandins, histamine, serotonin, bradykinin และ substance P ตัวรับสัญญาณ ว่ามีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ (nociceptor) จะแปลงสัญญาณนี้ส่งต่อไปทางใยประสาท A delta และ C ถึงไขสันหลัง ไขสันหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณต่างๆ ได้มากมาย สัญญาณบางส่วนจะส่งผ่านไปทาง ventral และ ventrolateral horn ทำให้เกิดการตอบสนองแบบ segmental reflex และสัญญาณส่วนอื่นๆ นั้น จะส่งผ่านไปทาง spinothallamic และ spinoreticular tract ทำให้เกิดการตอบสนองในระดับ suprasegmental และ cortex ออกมา การตอบสนองต่อการผ่าตัดแบบ segmental reflex ได้แก่ การหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้มีการใช้ออกซิเจนมากขึ้น และมีการสร้งกรดแลคติด การกระตุ้นเซลล์ประสาท sympathetic กำให้หัวใจเต้นเร็ว เพิ่ม stroke volume หัวใจทำงานหนักมากขึ้น และกล้ามเนื้อหัวใจต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะเกิดการหย่อนตัว และยับยั้งการทำงานของเส้นประสาท Phrenic การตอบสนองแบบ segmental reflex ทำให้ sympathetic tone เพิ่มมากขึ้นเละกระตุ้น hypothalamus ทำให้เมตาบอลิซึมละการใช้ออกชิเจนมากยิ่งขึ้นอีก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดจะมีการตอบสนองที่ระดับ cortex โดย ถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณที่ส่งความปวดไปถึงศูนย์ต่างๆ ใน สมอง ซึ่งจะประมวลผลจากสัญญาณและรับรู้ความเจ็บปวดการกระตุ้นในระดับ Hypothalamนs จะทำให้เกิดความกลัวความกังวลร่วมกับความเจ็บปวดthaมหาวิทยาลัยมหิดลAcute postoperative pain managementWhat's New in Acute Postoperative Pain ManagementReview Articleภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล