Pranomporn JuangphanichNarongchai PidokrajtPrompatsorn Pattanapornchai2024-02-072024-02-07201120112011Thesis (M.Sc. (Sports Science))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94991Sports Science (Mahidol University 2011)การฟื้นตัวที่สมบูรณ์หรือการพักอย่างแท้จริง (การฟื้นตัวที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลาพักสั้นๆ) เป็นสิ่งที่ จำเป็นอย่างยิ่งในระหว่างเกมการแข่งขัน หรือการออกกำลังกายที่ต้องทำซ้ำ ๆ จุดประสงค์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของดนตรี ผ่อนคลายต่อช่วงการฟื้นตัวและกลับคืนสู่ภาวะปกติ ของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันโลหิต สภาวะ อารมณ์ และประสิทธิภาพของการออกกำลังกายจนล้าในครั้งที่ 2 ทดสอบในผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและมีการออกกำลัง กายอย่างสม่ำเสมอ (3-5 ครั้ง/สัปดาห์) ทั้งชายและหญิง จำนวน 12 คน ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 สภาวะของช่วงการฟื้นตัว 15 นาที (โดยวิธีการสุ่มเลือก) คือ พักพร้อมกับฟังเพลงผ่อนคลายที่ให้ผลของเพลงผ่อนคลาย หลังจากการออกกำลังกายจนล้า พักพร้อมกับฟังเพลงที่ชอบหลังจากการออกกำลังกายจนล้าและพักโดยไม่ฟังเพลงหลังหารออก กำลังกายจนล้า โดยพัก 15 นาที ทั้ง 3 สภาวะ; ออกกำลังกายด้วยบรูเนลจนกระทั่งล้าที่ 85-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจ สูงสุด วัดและพิจารณาค่าของอัตราการเต้นหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และสภาวะทางอารมณ์ทันทีหลังจากการออก กำลังกายจนล้าและวัดค่าอีกครั้งหลังจากฟังเพลงทั้ง 3 ชนิด จากนั้นให้นั่งพักจนกระทั่งอัตราการเต้นของหัวใจกลับมาสู่±10 RHR (บันทึกเวลาโดยเปรียบเทียบทั้ง3สภาวะ) หลังจากนั้นให้ออกกำลังกายในครั้งที่ 2 ด้วยบรูเนลจนกระทั่งล้าที่ 85-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (บันทึกเวลาโดยเปรียบเทียบทั้ง3สภาวะ) โดยอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ สภาวะทางอามรมณ์ ในช่วงพัก15 นาที พิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์ของอัตราการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมของ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ สภาวะอารมณ์วัดโดยแบบวัดทางอารมณ์ของบรูเนล (พิจารณาความล้า) แต่ละสภาวะทำอาทิตย์ละครั้ง ANOVA วิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ ช่วงระยะเวลาการฟื้น ตัว ระยะเวลาของการออกกำลังกายครั้งที่2 และ Wilcoxon Signed Rank Test วิเคราะห์สภาวะทางอารมณ์ จากการสรุปและ อภิปรายผลแสดงว่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจ และความล้าเมื่อวัดด้วยแบบทดสอบ ทางอารมณ์มีค่าสูงขึ้นเมื่อได้รับเพลงผ่อนคลาย ซึ่งมีค่ามากกว่าการไม่ฟังเพลง และการฟังเพลงที่ชอบ ได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05; Mean HRR ± SD =86.92±3.71, p<0.05; Mean RR ± SD =13.42±1.01, p<0.05; Mean Fatigue ± SD =12.71 ± 0.3 min) เพลงผ่อนคลายทำให้ช่วงการฟื้นตัวใช้เวลาสั้นกว่าการไม่ฟังเพลงและการฟังเพลงที่ชอบ และเพลงผ่อนคลายยังทำให้ ระยะเวลาของการออกกำลังกายครั้งที่ 2 จนล้า ออกกำลังกายได้นานกว่าการออกกำลังกายในครั้งที่ 1 จนล้า (p<0.05; Mean time to ±10 RHR ± SD =18.12±0.17, p<0.05; Mean Duration of second exercise ± SD = 13.45±0.172) จากงานวิจัยสนับสนุนว่า เพลงผ่อนคลายเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยในการฟื้นตัวให้เกิดการฟื้นตัวที่มีการพักฟื้นอย่างแท้จริง ทำให้เกิดการหายล้าอย่าง สมบูรณ์อีกวิธีการหนึ่ง เป็นตัวเพิ่ม ส่งเสริม และสนับสนุการฟื้นตัวของระบบต่างๆของร่างกายจากความล้าความโดยผ่านทาง อารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นคล้อยตามทำนองและจังหวะของเพลงที่ฟังxi, 106 leavesapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าMusic -- Physiological effectMusic TherapyMusic for relaxationEffects of relaxation music on recovery periodผลของเพลงผ่อนคลายต่อช่วงการฟื้นตัวMaster ThesisMahidol University