นวลนภา สวยสดสุธรรม นันทมงคลชัยโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ศุภชัย ปิติกุลตังมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว2022-07-162022-07-162565-07-162564วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 44, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2564), 129-139https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72154การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของครอบครัว และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 310 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 23 มกราคม ถึง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเกือบครึ่งมีการทำหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.5 และมีความเข้มแข็งผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60.3 และ ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 39.7 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความเครียดของครอบครัว จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การทำหน้าที่ของครอบครัว ด้านความผูกพันทางอารมณ์ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ โดยครอบครัวที่ไม่มีความเครียดมีโอกาสที่จะมีครอบครัวเข้มแข็งผ่านเกณฑ์เป็น 4.7 เท่าของครอบครัวที่มีความเครียด ครอบครัวที่ไม่มีผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงมีโอกาสที่ความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านเกณฑ์เป็น 3.8 เท่าของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ครอบครัวที่มีการทำหน้าที่ของครอบครัวด้านความผูกพันทางอารมณ์ดี มีโอกาสที่ความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านเกณฑ์เป็น 2.4 เท่าของครอบครัวที่มีการทำหน้าที่ของครอบครัวด้านความผูกพันทางอารมณ์ไม่ดี และครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ จานวน 3-4 คน มีโอกาสที่จะมีความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านเกณฑ์เป็น 2 เท่าของครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ จำนวน 1-2 คน ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว โดยการส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีต่อกัน การจัดการความเครียดของสมาชิกครอบครัว การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุต่อไปThe objectives of this cross-sectional survey research were to study family functioning practice and investigate the factors influencing the family strength of elderly in Phrae province. Study samples were 310 heads of family with an elderly aged 60 years and over, recruited through a multi-stage random sampling. Data were collected through a questionnaire during 23 January 2019 to 21 February 2019. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, Chi-square test and logistic regression analysis. The results showed that half of the families with elderly (55.5%) had a moderate level of family functioning and revealed that most of the families (60.3%) had family strength that passed the criteria and 39.7% failed to the criteria. The factors significantly influencing the family strength of elderly were family stress, the number of dependent elderly, family functioning practice in emotional relationship aspect, and the number of family members with employment (p<0.05). The families with no presence of stress had a chance to have family strength passing the criteria with 4.7 times of the stress families. The families without dependent elderly had a chance to have family strength passing the criteria with 3.8 times of the families with dependent elderly. Families functioning practice with good emotional relationship aspect had a chance to have family strength passing the criteria with 2.4 times of poor emotional relationship aspect. Families with 3-4 employed family members had a chance to have family strength passing the criteria with 2 times of families with 1-2 employed family members. This study suggested that the concerned agencies should be used the data to the guideline in promoting the strengthen family by promoting good functioning family role each other among family members, setting stress management techniques of family members, and enhancing the knowledge and understanding about the care of dependent elderly for further family strength of the elderly.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการทำหน้าที่ของครอบครัวความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุผู้สูงอายุการทำหน้าที่ของครอบครัว และความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ จังหวัดแพร่Family Functioning Practice and Family Strength of Elderly in Phrae ProvinceResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล