ณชพัฒน์ จีนหลักร้อยวรรณา พาหุวัฒนกรปิยะนันท์ ลิมเรืองรองNachaphat JeenlakroyWanna PhahuwatnakornPiyanun Limruangrong2024-06-282024-06-282567-06-282566วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2566), 50-63https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99160วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลต่อการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนในมารดาผ่าตัดคลอด รูปแบบการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อน-หลังการทดลองและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลตติยภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 103 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 51 ราย และกลุ่มทดลอง 52 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และแบบสัมภาษณ์การให้อาหารทารก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีและไคสแควร์ ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมแม่ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมก่อนจำหน่ายและ 1 เดือนหลังคลอดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.27, p < .001 และ t = 3.55, p = .001 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมแม่ของกลุ่มทดลองก่อนได้รับโปรแกรมสูงกว่าหลังได้รับโปรแกรมก่อนจำหน่ายและ 1 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.65, p < .001 และ t = 2.62, p = .01 ตามลำดับ) และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .18) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลช่วยให้มารดาที่ผ่าตัดคลอดเกิดการรับรู้ความเพียงพอของน้ำนม และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้ในระยะหลังคลอด ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรนำโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลไปใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอดเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความเพียงพอของน้ำนมมารดาและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวPurpose: To study the effects of breastfeeding supports with caregiver program on perception of insufficient breast milk supply, and one-month exclusive breastfeeding rates among cesarean section mothers. Design: quasi-experimental pretest and posttest design with a comparison group. Methods: The samples consisted of 103 mothers who underwent cesarean section and stayed at the postpartum unit in a tertiary hospital, Nakhon Sawan province. Fifty-two samples in an experimental group received the program combined with usual care, whereas 51 samples in a control group received only usual care. The instruments included personal information recording form, the H & H Lactation Scale, and the Infant Feeding Interview. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test, and chi-square. Main findings: The mean scores of perceived insufficient breast milk supply in the experimental group prior to hospital discharge and at 1-month post discharge were significantly lower than that in the control group (t = 7.27, p < .001 and t = 3.55, p = .001 respectively). Within the experimental group, the mean scores of perceived insufficient milk supply after receiving the program prior to hospital discharge and at 1-month post discharge were significantly lower than that before receiving the program (t = 5.65, p < .001 and t = 2.62, p = .01, respectively). The rate of exclusive breastfeeding at one month in the experimental group and control group were not significantly different. (p = .18). Conclusion and recommendations: Breastfeeding supports with caregiver program can help postpartum mothers with caesarean section on perceived sufficient milk supply. Therefore, nurse-midwives should apply this program to promote awareness of breast milk adequacy and exclusive breastfeeding rate.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้านมแม่ผู้ดูแลการผ่าตัดคลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียววารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandผลของโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลต่อการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนในมารดาผ่าตัดคลอดThe Effects of Breastfeeding Supports with Caregiver Program on Perception of Insufficient Breast Milk Supply, and One Month Exclusive Breastfeeding Rates among Cesarean Section MothersArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล