ลดาวรรณ เติมวรกุลวรรณเพ็ญ จันทร์ศิรินุเคราะห์เยาวภา ใจรักดีภิมุกข์ สิงห์พิทักษ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2021-09-172021-09-172564-09-172561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63571ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 237งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของท่าทางของ กระดูกสันหลังระดับคอ-อกและมุมการเคลื่อนไหวของคอในผู้ป่วยปวดคอ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง ข้อมูลที่ศึกษาได้จากแบบบันทึกการตรวจ ร่างกายบริเวณคอ ของศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วง พ.ศ. 2557-2559 การตรวจร่างกายและบันทึกผลการตรวจร่างกายผู้ป่วยกระทำ โดยนักกายภาพบำบัด ข้อมูลที่วิเคราะห์ ได้แก่ ท่าทางของกระดูกสันหลัง ระดับคอ-อก (หมายถึง ท่าทางที่ศีรษะยื่นด้านหน้า กระดูกสันหลังระดับอกที่ โก่งกว่าปกติ และลักษณะไหล่ห่อ) และมุมการเคลื่อนไหวในทิศก้มคอ เงยคอ เอียงคอ และหมุนคอ ข้อมูลในการวิเคราะห์รวบรวมจากผู้ป่วยใหม่ที่ปวดคอ จำนวน 165 คน อายุ 19-66 ปี ผู้วิจัยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ ผลของงานวิจัยพบว่า ท่าทางที่ศีรษะยื่นด้านหน้า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกระดูกสันหลังระดับอกที่โก่งกว่า ปกติ (p=0.00) ลักษณะไหล่ห่อ (p=0.037) และมุมการเคลื่อนไหวของคอใน ทิศเงยคอ (p=0.042) ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวคิดและงานวิจัย ก่อนหน้านี้thaมหาวิทยาลัยมหิดลท่าทางกระดูกสันหลังคอ-อกศีรษะยื่นด้านหน้าไหล่ห่อมุมการเคลื่อนไหวปวดคอความสัมพันธ์ของท่าทางกระดูกสันหลังระดับคอ-อกและมุมการเคลื่อนไหวของคอในผู้ป่วยปวดคอProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล