ญาดา เสาโกศลนิสริน มาหะมะพรพรรณ สุขบุญฟารีดา อุพัมมาจีรนันท์ แกล้วกล้ามหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยา.2015-10-192021-09-152015-10-192021-09-152558-10-192558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63558การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 15 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21: มุมมองอนาคต และการจัดการเชิงระบบ: Public health and environment in the 21st Century: evidence-based global health, วันที่ 20-21 สิงหาคม 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 43.ภูมิหลัง: การบริการในสถานศึกษาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะนักศึกษาและบุคลากรที่ได้รับอาหารที่มีคุณภาพจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และการสร้างผลงานทางวิชาการที่ดี ซึ่งผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจจะมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงอาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร และนักศึกษา ในคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 200 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้นของผู้ใช้บริการ และความพึงพอใจทั้ง 5 ระดับ คือ 5 (ความพึงพอใจมากที่สุด) และ 1 (ความพึงพอใจน้อยที่สุด) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านราคาอาหาร (ค่าเฉลี่ย = 3.65, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.68) และความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า 3 ได้แก่ ความสะอาดของหม้อต้มน้ำสำหรับลวกช้อน-ส้อม ความสะอาดของตะเกียบ จำนวนโต๊ะและเก้าอี้ที่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร ความสะอาดของช้อน-ส้อม ความสะอาดของสถานที่เก็บภาชนะใช้แล้ว และจำนวนร้านค้าที่ให้บริการ สรุปผลการศึกษา: ความพึงพอใจในการบริการอาหารมากที่สุดคือ ด้านราคาอาหารที่มีราคาต่ำกว่าร้านอาหารภายนอก ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ควรปรับปรุงจำนวนโต๊ะและเก้าอี้ที่ใช้สำหรับรับประทานอาหารให้พอเพียง ปรับปรุงความสะอาดของช้อน-ส้อม และตะเกียบthaมหาวิทยาลัยมหิดลการบริการอาหารความพึงพอใจคุณภาพบริการอาหารความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงอาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลProceeding Poster