รุ่งทิวา เสาวนีย์พัชระกรพจน์ ศรีประสารพัทสิมา ภัทรธีรานนท์นิภาวิรรณ ศรีโยหะRungtiwa SaowaneePhatcharakoraphot SreeprasarnPatsima PattarateeranonNipawan Sriyoha2024-06-242024-06-242567-06-242566วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2566), 88-1002822-1370 (Print)2822-1389 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98941This action research aimed to examine the effect of case management for persons with type 2 prediabetes in the Suan-ngoen community and to explore problems, barriers, problemsolving,and needs for behavior modification of persons with prediabetes who did not achieve the goal. The sample was persons living in an urban community in Bangkok Metropolitan, aged 35 years and over, with diabetes risk factors. The sample was recruited with purposive sampling to obtain 30 cases. The research was conducted in two phases: Phase 1: using case management,and Phase 2: using a qualitative case study approach among those that did not achieve the goal.The data were analyzed using descriptive statistics, paired-sample t-test and Wilcoxon-signed rank test to compare the diabetes knowledge scores, health behavior scores, capillary fasting blood glucose values, body mass index, and waist circumferences before and after receiving case management in Phase 1. The qualitative analysis of the case study approach was used in Phase 2.The results showed that at the posttest, the sample had higher mean diabetic knowledge scores,and health behaviors were significantly higher than those at the pretest. Clinical outcomes, including capillary fasting blood glucose, body mass index, and waist circumference, at the posttest were significantly lower than those at the pretest. The participants, who did not achieve the goal, needed to use a case management program to solve the problems and minimize the barriers. The results after Phase 2 showed that health behaviors scores changed from moderate to high levels. Thus,case management for people with type 2 prediabetes in an urban community helps reduce the risk of diabetes mellitus. Therefore, community nurses should apply case management programs for persons with chronic diseases and at risk for non-communicable diseases to improve health status and delay possible complications.การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุุมชนเขตเมืองแห่งหนึ่งในกรุุงเทพมหานคร และศึกษาปัญหาอุุปสรรค แนวทางแก้ไข และความต้องการการดูแลของผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิ ดที่ 2 ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุุมชนซอยสวนเงิน อายุ 35 ปีขึ้นไป และมีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ใช้การจัดการรายกรณีและระยะที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพของแนวคิดกรณีศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติการทดลองแบบจับคู่หรือสถิติการทดสอบของวิลค็อกซันในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้โรคเบาหวานพฤติกรรมสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ก่อนและหลังได้รับการจัดการรายกรณี ในระยะที่ 1 และการวิเคราะห์ข้อมููลเชิงคุุณภาพของแนวคิดกรณีศึกษาใน ระยะที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้โรคเบาหวานและพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว ดัชนีมวลกาย รอบเอวน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายต้องการใช้การจัดการรายกรณี ในการแก้ไขปัญหาและลดอุุปสรรค ผลการวิจัยหลังสิ้นสุดระยะที่ 2 พบว่าคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงจากระดับปานกลางเป็นระดับสูง จะเห็นว่าการจัดการรายกรณีในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานได้ พยาบาลชุมชนจึงควรประยุกต์ใช้การจัดการรายกรณี ในการดูแลกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่ม เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อสร้างเสริมภาวะสุขภาพและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้thaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการจัดการรายกรณีผลลัพธ์ทางคลินิกพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2Case managementClinical outcomesHealth behaviorType 2 prediabetการพัฒนาแนวทางการจัดการรายกรณีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนเขตเมือง กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาซอยสวนเงินDevelopment of Case Management for Persons with Type 2 Prediabetes in an Urban Community, Bangkok Metropolitan: A Case Study of Suan-ngoen CommunityResearch Articleฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล