ประภาพรรณ อุ่นอบณภัทร ประภาสุชาติภัทรียา กิจเจริญมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข2022-07-062022-07-062565-07-062564วารสารสหศาสตร์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2564), 152-1651513-8429https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72036วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กข้ามชาติของโรงเรียน ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบการศึกษา จังหวัดชุมพร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบกรณีศึกษา โดยกรณีศึกษาคือ โรงเรียนที่สามารถจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ได้สำเร็จ 2 โรงเรียน เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่กี่ยวข้องกับโครงการฯ ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ 3-4 คนต่อพื้นที่ หรือจนว่าข้อมูลจะอิ่มตัว ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผ่านโปรแกรมการประชุมออนไลน์ซูม ด้วยแนวคำถาม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ตรวจสอบความครบถ้วนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ประกอบด้วย 1) การมียุทธศาสตร์จังหวัด 2) การกำหนดเป้าหมายโครงการฯ ร่วมกัน 3) การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ 5) การสนับสนุนทางวิชาการ และ 6) ศักยภาพของคณะทำงาน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1) การผลักดันนโยบายของจังหวัดที่เอื้อต่อการจัดการสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบโรงเรียนไปสู่การปฏิบัติ 2) การพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นให้กับคณะทำงาน 3) การสนับสนุนทางวิชาการจัดให้มีพี่เลี้ยงของโรงเรียน และ 4) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับ “แนวทางการบริหารโครงการฯที่มีประสิทธิภาพ” โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมThe objective of the research wasto study the factors supporting the developmentof the schools’ health promotion program for migrant children, under the project of migrant children health promotion in education system, Chumphon Province. The case study research methodwas employed in 2 successful schools in which their proposals were successfully granted. The data were collected from 3-4 key informants who were involvedat policy level and operational levelin each site,oruntil the data were saturated.In-depth interviewsandon-line virtual focus group via Zoom were used following guideline questions that had been developed by the researchers. The content validity wasverified by 3 qualified experts. Data from field work were processed and analyzed through content analysis along with analytical examination of relevant literatures.The research results showed that factors supporting the developmentof the schools’health promotion program consisted 1) Having provincial strategy, 2) Establishing joint project goals, 3) Involvement of relevant agencies, 4) The enhancement of potential proposals for the project, 5) Technical support, and 6) Potential of the operational team. Recommendations from the research study included 1) Advocating provincial policies to facilitate the management of migrant child health in the school system into practice, 2) the Enhancement of necessary capacities for the operational team, 3) Providing technical support in the schools in form of mentoring program, and 4) ‘Effective project management guidelines’ should be further studied through participatory action research (PAR)thaมหาวิทยาลัยมหิดลข้อเสนอโครงการนักเรียนข้ามชาติการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนProject proposalmigrant childrenmigrant studenthealth promotionin schoolปัจจัยสนับสนุนการจัดทําข้อเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพสําหรับเด็กข้ามชาติของโรงเรียน ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กข้ามชาติในระบบการศึกษาจังหวัดชุมพรFactors supporting the development of the schools’ health promotion program for migrant children under the project of migrant children health promotion in education system, Chumphon ProvinceArticleสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล