โยธกา เตชะปัญญาจงจิต เสน่หาวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชนพดล โสภารัตนาไพศาลYotaka TechapanyaChongjit SanehaWimolrat PuwarawuttipanitNopadol Soparattanapaisarn2024-06-282024-06-282567-06-292565วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2565), 95-109https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99212วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอาการของวัยหมดประจำเดือน ความรอบรู้ทางสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และภาวะโลหิตจางต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนหลังได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนหลังได้รับยาเคมีบำบัดครบที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 129 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการของวัยหมดประจำเดือน แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามกิจกรรมทางกายนานาชาติฉบับย่อ และแบบวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอาการของวัยหมดประจำเดือนรุนแรงร้อยละ 39.5 มีความรอบรู้ทางสุขภาพระดับมากร้อยละ 69 มีกิจกรรมทางกายปานกลาง ร้อยละ 40.3 และมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 47.3 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยรวมเท่ากับ 113.4 (SD = 17.78) อาการของวัยหมดประจำเดือน ความรอบรู้ทางสุขภาพ กิจกรรมทางกายและภาวะโลหิตจาง สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 51 (adjusted R2 = .51, F = 27.15, p < .05) เฉพาะอาการของวัยหมดประจำเดือน (gif.latex?\beta = - .66, p < .01) และความรอบรู้ทางสุขภาพ (gif.latex?\beta = .21, p < .01) เท่านั้นที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินอาการของวัยหมดประจำเดือน และความรอบรู้ทางสุขภาพ โดยให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการของวัยหมดประจำเดือน และส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้Purpose: This study aimed to study the predictive ability of menopause symptoms, health literacy, physical activity and anemia on health-related quality of life in premenopausal women with breast cancer after receiving chemotherapy. Design: Correlational predictive design. Methods: The study sample included 129 premenopausal women with breast cancer who were completion of chemotherapy at a super-tertiary hospital in Bangkok. Data were collected by using a demographic questionnaire, Menopause Rating Scale, Health Literacy Questionnaire, Short Form International Physical Activity Questionnaire, and Health-related quality of life questionnaire (FACT-B). All data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. Main findings: It was found that 39.5% of the sample had severe menopause symptoms, 69% high level of health literacy, 40.3% moderate physical activity and 47.3% anemia. A mean score of overall health-related quality of life among the sample was 113.4 (SD = 17.78). Menopause symptoms, health literacy, physical activity and anemia could account for 51 percent of the variances explained in health-related quality of life (adjusted R2 = .51, F = 27.15, p < .05). Only menopause symptoms (gif.latex?\beta = - .66, p < .01) and health literacy (gif.latex?\beta = .21, p < .01) could significantly predict the health-related quality of life. Conclusions and recommendations: Nurses should assess menopause symptoms and health literacy, and take care patients with menopause symptoms as well as promote health literacy in order to improve health-related quality of life of this group of patients.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้ามะเร็งเต้านมเคมีบำบัดคุณภาพชีวิตก่อนหมดประจำเดือนสุขภาพวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนหลังได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดFactors Predicting the Health-Related Quality of Life in Premenopausal Women with Breast Cancer after Receiving ChemotherapyArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล