มะลิวัลย์ เรือนคำศุภลักษณ์ เข็มทองมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์. สาขาวิชากิจกรรมบำบัด2013-05-072018-03-232013-05-072018-03-232556-04-042552-05วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (2552), 112-1190125-5347https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/10348วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหมวดของทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติกและความสำคัญของทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก ผ่านมุมมองของผู้ดูแลและผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติก ระเบียบวิธีวิจัย: วิเคราะห์เนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตสำหรับเด็กและจากการ สัมภาษณ์แบบเฉพาะกลุ่ม กลุ่มผู้ปกครอง ผู้ดูแล ครูการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ พยาบาลและนักจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก (N=270) ผลการศึกษา: เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติกสามารถจำแนกตามโมเดลปิรามิดของ National Unified Life Skills Model (NULM) และตามร้อยละของความถี่ที่แสดงเนื้อหาที่ซ้ำกันจากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ได้แก่ กลุ่มทักษะชีวิต พื้นฐาน (36%) กลุ่มทักษะทางจิตสังคม (32%) กลุ่มองค์ประกอบที่จำเป็นในทักษะชีวิต (10%) กลุ่มองค์ความรู้ พื้นฐานในทักษะชีวิต (8%) กลุ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้โดยอิสระ (7.2%) และกลุ่มการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม (6.8%) จากนั้นผู้วิจัยปรับเปลี่ยนโมเดลปิรามิดสู่โมเดลต้นไม้เพื่อสร้างความเข้าใจในการพัฒนาทักษะชีวิตในผู้ดูแล เด็กออทิสติกไทย สรุป: ผู้ดูแลและผู้ที่ให้ความช่วยเหลือสะท้อนความสำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติกโดยเน้น หมวดกลุ่มทักษะชีวิตพื้นฐาน วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2552; 42: 112-119.thaมหาวิทยาลัยมหิดลทักษะชีวิตเด็กออทิสติกกิจกรรมบำบัดทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติกผ่านมุมมองของผู้ดูแลLife skills for autistic children through viewpoint of carersOriginal Articleคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่