สุพัตรา คงปลอดพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์อรสา พันธ์ภักดีSupattra KongblodPoolsuk Janepanish VisudtibhanOrasa Panpukdeeมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2019-10-252019-10-252562-10-252558รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 21, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558), 38-510858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47967การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองและ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อฉวยโอกาส โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแล ตนเองของโอเร็ม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 70 ราย เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ความต้องการการดูแลตนเอง และแบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อฉวยโอกาส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองโดย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปฏิบัตินานๆ ครั้ง และการรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม การดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการส่งเสริม การรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ ป่วยเอดส์เพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสThis descriptive study aimed to explore perceived self-care demands and self-care behavior of AIDS patients with opportunistic infections. Orem's self-care theory was employed as the conceptual framework of the study. The sample of 70 AIDS patients being treated for opportunistic infections in a tertiary care hospital in Bangkok was selected by purposive sampling. The self-administered questionnaires were used to collect data which consisted of the Demographic and Health Questionnaires, the Perceived Self-Care Demand Questionnaire, and Self-Care Behavior Questionnaire. Data were analyzed with descriptive statistics and Pearson's correlation statistics. According to the findings, the perceived self-care demands was found to be in the moderate level and self-care behavior was found to be in the level of seldom practice. Furthermore, the perceived self-care demand was significantly positively correlated with perceived self-care behavior. The research findings can be used as information to support the promotion of perceived self-care demands and self-care behavior in persons with HIV and AIDS to prevent opportunistic infections.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยเอดส์การติดเชื้อฉวยโอกาสPerceived self-care demandSelf-care behaviorAIDS patientsOpportunistic infectionsการรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้ออฉวยโอกาสPerceived Self-Care Demands and Self-Care Behavior of AIDS Patients with Opportunistic InfectionsArticleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล