รวิ ใจหาญสุธรรม นันทมงคลชัยพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์Sutham NanthamongkolchaiPimsurang TheachaboonsermsakChokchai Munsawaengsubมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว2014-12-172017-06-302014-12-172017-06-302014-12-172553-01วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 1 (2553), 76-850125-1678https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2444การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง โดยโปรแกรมดังกล่าวประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณ ค่าในตนเองของผู้สูงอายุ กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเย็น ทำสมาธิแบบอานาปานสติ และกิจกรรมเล่านิทานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี กลุ่มละ 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ระยะเวลาทดลองตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบ Chi-square Pair-sample t-test และ Independent-sample t-test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนทดลอง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน (p-value> 0.05) หลังการทดลองความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) ก่อนและหลังการทดลองความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน (p-value> 0.05) จากผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขนำโปรแกรมไปใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไปThis quasi-experimental research was designed to examine the effect of social participatory training program on self esteem of the elderly in La-un district Ranong province. The social activity in this program was self-esteem promoting, evening praying each meditating and telling story to children in day care. There were 35 elderly aged 60-70 years in the experimental and comparative group. The intervention period was between July - October 2009. The data was collected by interview questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square test, pair-sample t-test and independent-sample t-test. The result found that before intervention the self-esteem mean score was not different in each group (p-value > 0.05). After intervention the mean score in experimental group was statistically signifi cant higher than before intervention and in comparative group (p-value < 0.05). The mean score in comparative group was not different between before and after intervention (p-value > 0.05). In conclusion, The social participatory training program is useful and can be applied to promote self-esteem to the elderly by public health personnel.thaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้สูงอายุความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกิจกรรมทางสังคมElderlySelf–EsteemSocial ActivityOpen Access articleวารสารสาธารณสุขศาสตร์Journal of Public Healthผลของโปรแกรมส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนองEffect of social participatory training program on self-esteem of the elderly in la-un district Ranong provinceArticleมหาวิทยาลัยมหิดล