Pramote TragulpiankitPreecha MontakantikulAroonwan PreutthipanPongsathorn Piebpien2024-02-072024-02-07201120112011Thesis (M.Sc. (Clinical Pharmacy))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94974Clinical Pharmacy (Mahidol University 2011)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยเภสัชกรค้นหาปัญหาทางยา และ ความคลาดเคลื่อนทางยา จากการทบทวนคาสั่งใช้ยาและร่วมทีมดูแลผู้ป่วย ปัญหาทางยาและความคลาดเคลื่อนทางยาที่ค้นพบ ถูกบันทึกแยกตามชนิดของปัญหาทางยา ความคลาดเคลื่อนในกระบวนการใช้ยา และความรุนแรง พร้อมทั้งบันทึกการแนะนาจากเภสัชกรและการยอมรับโดยทีม แล้วนามาพัฒนาเป็นแนวทางการจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง โดยอาศัยข้อมูลปัญหาทางยา ความคลาดเคลื่อนทางยา และการแนะนาจากเภสัชกร อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้ง 43 ราย คือ 61.8 + 54.6 เดือน ผู้ป่วย 24 ราย (ร้อยละ 55.8) เป็นเพศหญิง ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับยาทั้งสิ้น 182 รายการ จากคาสั่งแพทย์ 674 ครั้ง โดยพบปัญหาทางยา 216 ปัญหา ในผู้ป่วย 37 ราย (ร้อยละ86) ค่าเฉลี่ยของปัญหาทางยาต่อผู้ป่วย คือ 5.1 ลักษณะของปัญหาทางยาได้แก่อันตรกิริยาระหว่างยา 192 ปัญหา (ร้อยละ 88.9) ขนาดยาสูงเกินไป 13 ปัญหา (ร้อยละ 6) และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 6 ปัญหา (ร้อยละ 2.8) ความรุนแรงของปัญหาทางยาจัดอยู่ในกลุ่ม E (เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย), D และ C ได้แก่ 3, 183 และ 24 ปัญหา ตามลาดับ ซึ่งจาก 216 ปัญหาทางยานี้ถูกจัดเป็นความคลาดเคลื่อนทางยา 19 ปัญหา โดยแบ่งกลุ่มได้ตามความคลาดเคลื่อนในกระบวนการใช้ยา ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา 16 ปัญหา ความ คลาดเคลื่อนในการบริหารยา 2 ปัญหา และความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคาสั่ง 1 ปัญหา เภสัชกรมีการให้คาแนะนาทั้งสิ้น 216 ครั้งตามลักษณะปัญหาทางยาที่พบ และได้รับการยอมรับจากทีม 210 ครั้ง ยา phenobarbital ชนิดฉีด ได้ถูกเลือกมาพัฒนาเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแนวทางในการสั่งใช้โดยวิธีการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ เนื่องจากเป็นยาที่มีพบความคลาดเคลื่อนทางยาสูง และทาให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย แม้ว่าปัญหาทางยาส่วนใหญ่คืออันตรกิริยาจากยา ถึงแม้ว่าปัญหาทางยาส่วนใหญ่จะไม่ทาให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย แต่เภสัชกรมีบทบาทในการจัดการปัญหาทางยาและความคลาดเคลื่อนทางยา และมีแนวโน้มว่าสามารถเพิ่มคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยได้xii, 109 leavesapplication/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าClinical pharmacologyPharmacy techniciansPediatric intensive careMedication Errors -- prevention & controlMedication Therapy ManagementPharmacist's role in management of high-alert medications in pediatric intensive care unit, Ramathibodi hospitalบทบาทเภสัชกรในการจัดการยาที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดีMaster ThesisMahidol University