สุรินธร กลัมพากรทัศนีย์ รวิวรกุลธนะวัฒน์ รวมสุก2024-01-052024-01-05256025602567วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91829การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้โรคความดันโลหิตสูงมีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น วิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเลิกบุหรี่โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในผู้ป่วยชายโรคความดันโลหิตสูงรับบริการที่โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มทดลอง 27 คน ได้รับโปรแกรมเลิกบุหรี่ที่ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความคาดหวังในผลที่จะได้รับและความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ จำนวน 2 ครั้งและติดตามผลทางโทรศัพท์ภายหลังการเลิกสูบบุหรี่ในวันที่ 3 วันที่ 7 และวันที่ 14 กลุ่มเปรียบเทียบ 26 คน ได้รับเอกสารและคู่มือเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของโรคจากการสูบบุหรี่ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคจากการสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลที่จะได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่และจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของการติดนิโคตินและก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในลมหายใจของทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน (p > .05) โปรแกรมดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่และสามารถนาไปประยุกต์ใช้กับ ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ได้Hypertension is a cardiovascular disease which is a major public health problem. Smoking is a factor affecting raising blood pressure resulting risk of complication. The purpose of this quasi-experimental study aimed to examine the effect of smoking cessation program in patients with hypertension by applying Protection Motivation Theory. The samples were male smokers with hypertension receiving service at Bangnamprieo hospital, Chachoengsao province. The experimental group (n=27) received 2 monthly sessions of a smoking cessation program with the focus on enhancing perceived severity of disease, perceived vulnerability of complications, response efficacy and self-efficacy in smoking cessation and telephone followed-up on the 3rd 7th and 14th days after setting quit date. Comparison group (n=26) was provided with self-help material about smoking cessation. Data were collected using questionnaire and piCO smokerlyzer at pre-test, post-test and follow-up. The research findings showed that after the intervention, the experimental group had mean score of perceived severity, perceived vulnerability of complications, response efficacy and self-efficacy significantly higher than that of the pre-test and comparison group (p < .05). In addition, the number of cigarettes smoked by the experimental group was significantly lower than the pre-test and that by the comparison group (p < .05). However, the mean score of nicotine dependence level and exhaled carbon monoxide level were not significantly different from that of the comparison group (p > .05). This smoking cessation program can change smoking behavior of hypertensive patients and can be applied to other patient groups.ก-ญ, 172 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเลิกบุหรี่ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วยความดันเลือดสูง -- ภาวะแทรกซ้อน -- การป้องกันแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ผลของโปรแกรมเลิกบุหรี่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงThe effect of smoking cessation program by applying the protection motivation theory in patients with hypertensionMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิลด