Wisit Piyawattanatawonวิศิษฎ์ ปิยะวัฒนาถาวรWidcha Asawaworaritวิชชา อัศววรฤทธิ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์2015-01-282017-01-102015-01-282017-01-102015-01-052014-01วิศิษฎ์ ปิยะวัฒนาถาวร, วิชชา อัศววรฤทธิ์. กำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์ของเดือยเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพผิวต่อการยึดเนื้อคลองรากฟันที่ปรับสภาพ. ว ทันต มหิดล. 2557; 34(1): 37-45.0125-5614 (printed)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1154วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินกำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์ของเรซินคอมโพสิตที่ยึดเดือยเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกและเนื้อคลองรากฟันที่ล้างด้วยน้ำยาต่างชนิดกัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ฟันกรามน้อยล่างรากเดียวของมนุษย์ จำนวน 24 ซี่ ตัดส่วนตัวฟันเหนือระดับรอยต่อระหว่างเคลือบรากฟันและเคลือบฟัน 2 มิลลิเมตร ขยายคลองรากฟันถึงขนาด 40/06 ด้วยนิกเกิลไททาเนียมเอ็มทู และอุดคลองรากฟันด้วยกัตตาเปอร์ชาร่วมกับซีลเลอร์เอเอซพลัส เตรียมคลองรากฟันสำหรับใส่เดือยด้วยหัวกรอสำหรับเดือยฟันเอฟอาร์ซี ขนาด 3 ให้ลึก 8 มิลลิเมตร แล้วแบ่งฟันออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ซี่ โดย กลุ่มที่ 1 ล้างคลองรากสำหรับใส่เดือยด้วยน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 ล้างด้วย อีดีทีเอ ตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ กลุ่มที่ 3 ล้างด้วย อีดีทีเอ ตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ และ น้ำกลั่น และ กลุ่มที่ 4 ล้างด้วย อีดีทีเอ สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ และสารละลายโซเดียมแอสคอร์เบต ตามลำดับ นำเดือยเส้นใยแก้วมาปรับสภาพผิวโดยการทาด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก ความเข้มข้นร้อยละ 4 ในเวลา 15 วินาที ล้างกรดออกแล้วทาสารไซเลนปล่อยไว้ 1 นาที ยึดเดือยฟันด้วยไซทดีเอสซีและเรซินคอมโพสิต มัลติคอร์ โฟล ในคลองรากแล้วนำฟันไปเก็บที่มีความชื้นร้อยละ 100 ระยะเวลา 24 ชั่วโมง จึงนำฟันจำนวน 24 ซี่ มาตัดเป็นแท่งจำนวน 5 แท่งต่อซี่รวมชิ้นตัวอย่าง 120 แท่ง สำหรับทดสอบกำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์ ค่ากำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบเชิงซ้อน ระหว่างกลุ่มด้วย Dunnett T3 สำหรับรูปแบบการแตกหักตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดและเปรียบเทียบการแตกหักโดยใช้ Kruskal-Wallis ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง: กำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์ของกลุ่มที่ 1 ถึง 4 มีค่า 4.52 ± 1.31, 7.13 ± 2.55, 9.53 ± 3.18 และ 14.56 ± 4.47 MPa ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มการทดลอง (p<0.05) รูปแบบการแตกหักในกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 เป็นแบบไม่ยึดติดระหว่างเนื้อคลองรากฟันกับเรซินคอมโพสิตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในกลุ่มทดลองที่ 3 และ 4 การแตกหักป็นแบบเชื่อมแน่นล้มเหลวในเดือยเส้นใยแก้วร่วมกับการแตกหักแบบไม่ยึดติดระหว่างเนื้อฟันกับเรซินคอมโพสิต สรุป: การปรับผิวคลองรากฟันโดยล้างด้วย อีดีทีเอ ความเข้มข้นร้อยละ 17 จำนวน 2 มิลลิลิตร 1 นาที ตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ความเข้มข้นร้อยละ 5.25 จำนวน 2 มิลลิลิตร 1 นาที และสารละลายโซเดียมแอสคอร์เบต ความเข้มข้นร้อยละ 10 จำนวน 10 มิลลิลิตร 10 นาที จะให้ค่ากำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์ของเรซินคอมโพสิตที่ยึดเดือยเส้นใยแก้วกับคลองรากฟันได้สูงกว่าการล้างคลองรากด้วยน้ำยาอื่นthaมหาวิทยาลัยมหิดลMicrotensile bond strengthEtched fiber postEDTASodium hypochloriteSodium ascorbateกำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์การล้างคลองรากเดือยเส้นใยแก้วอีดีทีเอโซเดียมไฮโปคลอไรต์โซเดียมแอสคอร์เบตOpen Access articleวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดลMahidol Dental Journalกำลังแรงยึดไมโครเทนไซล์ของเดือยเส้นใยแก้วที่ปรับสภาพผิวต่อการยึดเนื้อคลองรากฟันที่ปรับสภาพMicrotensile bond strength of etched fiber post surface bonded to treated root canal dentinArticleคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล