สุณีย์ กัลยะจิตรกัตติกา กำลังเกื้อ2024-01-252024-01-25255025672550วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93914อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)ในการศึกษาวิจัยเรื่อง "ปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อการกระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกายของผู้ต้องขังหญิง" เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกาย และเพื่อศึกษาถึงปัจจัย องค์ประกอบที่มีผลต่อการกระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกายของผู้ต้องขังหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 120 คน โดยการวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบไคสแคว์ (Chi-Square) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1 ข้อมูลปัจจัยภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีช่วงอายุ 15-24 ปี และ40-55 ปี อายุขณะกระทำผิดของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 15-29 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ จบระดับประถมศึกษา อาชีพก่อนถูกจับกุม มีอาชีพรับจ้างทั่วไป สถานภาพสมรสส่วนใหญ่ มีการสมรส 2. ข้อมูลปัจจัยภูมิหลังของปัจจัยองค์ประกอบทางครอบครัวพบว่า สถานภาพการสมรสของบิดาและ มารดา ส่วนใหญ่แยกกันอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัว รักใคร่เข้าใจกันดี ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับมารดามีความรักใคร่เข้าใจกันดี ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างกับบิดามารดา ส่วนใหญ่มีความสนิทสนมกับบิดามารดา ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างกับสามี มีการทะเลาะกันเป็นประจำ 3. ข้อมูลปัจจัยภูมิหลังของปัจจัยองค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า รายได้ของกลุ่มตัวอย่าง มีรายได้อยู่ในช่วง 3,001 -6,000 บาท รายได้ทั้งหมดของครอบครัว มีรายได้สูงกว่า 15,001 บาทขึ้นไป 4. ความผิดที่กระทำส่วนใหญ่ กระทำความผิดในคดี ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา กระทำความผิดเพียงคนเดียว บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อ เป็นสามี การกระทำความผิดดังกล่าว ได้กระทำความผิดโดยไม่ได้มีการไตร่ตรองมาก่อน และสาเหตุในการกระทำความผิดของมาจากการบันดาลโทสะ 5.พบว่าปัจจัยภูมิหลังส่วนบุคคลเกี่ยวกับ อายุขณะกระทำความผิด การประกอบอาชีพและพฤติกรรมการลักขโมยที่แตกต่างกันมีผลต่อการกระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกาย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเรื่องเดียวกันนี้อีกโดยการเปรียบเทียบระหว่างการกระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกาย โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้กระทำผิดเพศหญิง และเพศชาย นอกจากนี้ควรศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีบทบาทในการกระทำความผิดของผู้หญิง เพื่อที่จะเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระทำความผิดดังกล่าวThis research studied factors of female prisoners who have committed crimes against the body. Data was collected from 120 female prisoners admitted to four correction Institutes in various parts of Thailand. A questionnaire was used to collect data which was the statistically analyzed. The results of the study are summarized below. 1. Social Background. It was found that most samples admitted to the Correction Institute had domicile in Bangkok and provinces. The two largest age groups were aged 15-24 years and 40-55 years at the time of the offense. Most had acquired primary level education and were most commonly laborers. They were mostly married. 2. The parents of most samples lived separately and were always quarrelling. 3. Most samples earned 3,001-6,000 bath and theirs parents earned more than 15,001 bath 4. Most offences of sampling were unintentional crimes against the body. 5. They had different social backgrounds at the time of offense, most were working but had thievish behavior. In this investigation, the researcher conducted a specific study. Therefore it is recommended that broader research be conducted in future to make use of the findings in the prevention of crimes against bodyก-ฉ, 118 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความผิด (กฎหมาย) -- การวิเคราะห์นักโทษหญิงปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อการกระทำความผิดต่อชีวิตและร่างกายของผู้ต้องขังหญิงFactors of female prisoners who have committed crimes against the bodyMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล