สุธาสินี มานพกาวีกิติพงษ์ หาญเจริญชาครีย์ กิติยากรมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาภาควิชาอายุรศาสตร์2022-07-142022-07-142565-07-142563วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), 45-53https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72138การศึกษาติดตามข้อมูล (Follow-up study) นี้ มีจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอัตราการกรองไตในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การศึกษาติดตามใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัย EGAT study1 และ 2 โดยคัดกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การศึกษาทั้งสิ้น 4,835 คน อายุ 33-66 ปี คำนวณการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองไตโดยสมการ CKD-EPI Creatinine Equation ซึ่งการศึกษานี้แบ่งระดับการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองไตเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) เพิ่มขึ้นมากกว่า 15% (2) คงที่ ±15% (3) ลดลง 15-25% และ (4) ลดลงมากกว่า 25% ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์พหุตัวแปร เมื่อควบคุมตัวแปรอายุและเพศ ผลการศึกษาพบปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ระดับการศึกษา (OR adjusted 1.28, 95%CI 1.07-1.54); 2)เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR adjusted 1.56, 95%CI 1.13-2.15); 3) โรคเบาหวาน (OR adjusted 2.28, 95%CI 1.61-3.23); 4) โรคความดันโลหิตสูง (OR adjusted 1.88, 95%CI 1.39-2.54) และ 5) Protein urea ระดับ Positive (OR adjusted 1.52, 95%CI 1.16-1.99) ซึ่งทั้ง 5 ปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราการกรองไตในระดับที่ลดลงมากกว่า 25% เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงอัตราการกรองไตในระดับคงที่ +15% อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ <0.05 ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลของปัจจัยไปใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเฝ้าระวังการเสื่อมของไต รวมถึงการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนThe Follow up study intend to identify factors that associated of the change in estimated glomerular filtration rate in 5-year period of following employees of the Electricity Generating Authority of Thailand. This retrospective cohort study obtained data EGAT 1 and 2 cohort study. This study included 4,835 participants for analysis. The samples were aged between 33-66 years. Changes in estimated glomerular filtration rate were estimated using CKD-EPI creatinine equation. Estimated glomerular filtration rate was classified eGFR into 4 categories: (1) increase >15%, (2) stable within ±15%, (3) minor decline (decline 15-25%), and (4) definite decline (decline >25%). After adjusting for covariates in sex and age group, the multivariable logistic regression model estimated that 5 risk factors associated with the definite eGFR decline significantly in 5 years. The study cohort demonstrated that 1) Education less than 12 year (OR adjusted 1.28, 95%CI 1.07-1.54); 2) Alcohol(Drinking) (OR adjusted 1.56, 95%CI 1.13-2.15); 3) Diabetes (OR adjusted 2.28, 95%CI 1.61-3.23); 4) Hypertension (OR adjusted 1.88, 95%CI 1.39-2.54); and 5) Proteinuria Positive (OR adjusted 1.52, 95%CI 1.16-1.99). All 5 risk factor were related to definite eGFR decline, defined as more than 25% than those who had stable eGFRcr (defined as ±15% change), with p<0.05. This study about the risk factors associated with change in estimated glomerular filtration rate (eGFR) prevent the deterioration of kidney, promote change behavior and reduce risk of complications.thaมหาวิทยาลัยมหิดลอัตราการกรองไตโรคไตเรื้อรังระบาดวิทยาการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอัตราการกรองไต ช่วงระยะเวลา 5 ปี ในกลุ่มพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยThe Study of Factors Associated with Change in Glomerular Filtration Rate over 5 Year among Employees of the Electricity Generating Authority of ThailandResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล