ขวัญชนก อิศราธิกูลปรีญานันท์ พร้อมสุขกุลนิอร เตรัตนชัยKwanchanok IsarathikulPreeyanun PromsukkulNi-on Tayrattanachai2025-05-192025-05-192568-05-192567Mahidol Music Journal. ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2567), 1-192774-132X (Online)2586-9973 (Print)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/110222งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนเปียโนคลาสสิกระดับกลางในสถาบันเปียโนบางกอก และ 2) นําเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเปียโนคลาสสิกระดับกลางในรูปแบบคู่มืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจากสถาบันเปียโนบางกอก จํานวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน และ 2) กลุ่มครูเปียโน 10 ท่าน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเชิงพรรณนาวิเคราะห์จากการศึกษา พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนยึดถือหลักการเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยมีการออกแบบการเรียนการสอนตามความสามารถและองค์ความรู้เดิมของผู้เรียน และ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอน พบว่า (1) ด้านครูผู้สอน ควรมุ่งเน้นการทํางานร่วมกันในสถาบัน ระหว่างครูระดับศิลปิน ผู้ช่วยศิลปิน และครูผู้สอน และควรมีทัศนคติที่ยืดหยุ่นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากครูท่านอื่น (2) ด้านผู้เรียน ควรเน้นการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ทั้งทางด้านร่างกาย อายุ ทักษะปฏิบัติ และความคาดหวังของผู้ปกครอง (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรมุ่งเน้นให้ผู้ปกครองและผู้เรียนมีส่วนรวมในการวางแผนการเรียนรู้ (4) ด้านสภาพแวดล้อม ควรคํานึงถึงการจัดพื้นที่ใช้สอยอย่างเหมาะสม การใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนThe research aimed to achieve two primary objectives: 1) to conduct a comprehensive analysis of the intermediate classical piano instruction at the Piano Academy of Bangkok and 2) to compile a set of instructional guidelines, for intermediate classical piano education in the electronic manual format in a form of qualitative study. The participants from Piano Academy of Bangkok were divided two groups: 1) two experts, and 2) ten teachers. Data collection using a semi-structured interview instrument and non-participant observational methods. Data analysis in a form of analytic induction and presented in descriptive analysis form. The research findings revealed that 1) within the instructional context, teachers customized their piano teaching approaches primarily to align with individual student capabilities and prior knowledge. 2) The instruction for the intermediate classical piano founds that (1) teachers' aspect—the role of teachers should emphasize a commitment to fostering collaboration among artists, assistant artists, and teaching collaborators. Teachers were encouraged to adopt a flexible disposition that facilitated students' openness to novel perspectives from their peers.; (2) Students' aspect— should emphasis is placed on teaching and learning design that is appropriate for each learner including physical aspect, age, practical skills, and expectations of parents.; (3) Instructional aspect— the pedagogy in the instructional aspect should involve students and parents in setting learning objectives and content.; (4) Environmental aspect—an atmosphere conducive to student learning prevailed, should complement by well-proportioned facilities and spaces equipped with high-quality musical instruments.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าGuidelines for Piano InstructionIntermediate Classical Piano InstructionElectronic Instruction Management Manualแนวทางการจัดการเรียนการสอนเปียโนการเรียนเปียโนคลาสสิกระดับกลางคู่มืออิเล็กทรอนิกส์สําหรับการจัดการเรียนการสอนแนวทางการจัดการเรียนการสอนเปียโนคลาสสิกระดับกลางของสถาบันเปียโนบางกอกTHE GUIDELINES FOR INTERMEDIATE CLASSICAL PIANO INSTRUCTION OF THE PIANO ACADEMY OF BANGKOKArticleวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล