สุปรียส์ กาญจนพิศศาลเพริศพรรณ แดนศิลป์ณิทชาภา จิตต์กุศล2024-07-092024-07-09256325632567สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99548จิตตปัญญาศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ภายในของผู้ดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าที่ผ่านโครงการ Mindfulness Care ด้วยวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา วิเคราะห์ผลการวิจัยจากการเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกในบุคคล และบันทึกประสบการณ์เรียนรู้ของผู้ดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์ภายในที่เกิดร่วมกันมีทั้งสิ้น 10 ประสบการณ์ คือ 1. ตระหนักรู้ในตนเอง 2. รับรู้ประสบการณ์เชื่อมโยงกับผู้อื่นและสภาพแวดล้อม 3 .มีสติรู้เห็นกายใจมากขึ้น 4. เผชิญหน้าความขัดแย้งและเห็นทุกข์ 5. เข้าใจและยอมรับความจริง 6. คุณภาพจิตมีกำลัง 7. ตระหนักถึงภาวะจิตใจและการกระทำของตนที่มีต่อผู้อื่น 8. เห็นมุมมองและความหมายใหม่ที่มีต่อชีวิต 9. สัมผัสถึงคุณค่าในตนเองและงานผู้ดูแล 10. เกิดแรงบันดาลใจในการดูแลตนเองและผู้อื่น การอภิปรายผล พบว่า ผลการศึกษาสอดคล้องกับแนวคิดต้นไม้จิตตปัญญา ซึ่งวางรากฐานอยู่บนการสื่อสาร เชื่อมโยงและตระหนักรู้ และหลักภาวนา 4 ที่มีแก่นสำคัญคือ ปัญญา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องโดยมีที่มาจากปัจจัยภายนอกและภายในคือ กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ ปัญญานี้ส่งผลให้ผู้ดูแลมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น รวมถึงการมีพฤติกรรมการแสดงออกที่เกื้อกูลต่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการศึกษาในกลุ่มผู้มีภาวะซึมเศร้า เพื่อให้นำความรู้ความเข้าใจมา ประยุกต์ใช้ในการดูแลภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสมThis research aims to study the inner experiences of depression caregivers participated in Mindfulness Care Workshop. The study employed a phenomenological research method, with the techniques of collecting and analyzing the data from the in-depth interviews and the journals of ten depression caregivers. The research results revealed that the inner experiences were consisted of the following ten themes: 1. Self-Awareness 2. Connecting to Others and Environment 3. Mindful of Body and Mind 4. Confronting Conflicts and Perceiving the Suffering 5. Understanding and Accepting the Truth 6. Empowered Mind 7. Awareness of Impact of Self on Others 8.New Perspective and Meaning of Life 9. Self-Worth and Perceived Value in Caregiving Duty 10. Inspiration on Self-Care and Caregiving. The research discussion conveys that the research results are in accordance with the concept of 'The Tree of Contemplative Practices', which has the foundation on communion, connection, and awareness. The results are also in line with the principle of '4 Developments', with 'Pañña', which is right understanding, as its essence. The 'Pañña' comes from both external and internal factors, which are 'Kalyana-mitta' and 'Yonisomanasikara'. This 'Pañña', then, expands to other areas of developments, namely improved physical and mental health, and beneficent behaviors when living with others. In this regard, the researcher suggests conducting the study in the group of participants with depressive symptoms. This is to apply the knowledge and understanding as a guideline for appropriate depression care.ก-ญ, 156 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าบุคคลซึมเศร้า -- การดูแลผู้ดูแล -- แง่จิตวิทยาจิตตปัญญาศึกษาประสบการณ์ภายในของผู้ดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า ที่ผ่านโครงการ Mindfulness CareInner experience of depression caregivers from Mindfulness Care workshop participationMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล