สุญาดา อรวงศ์ไพศาลจงจิต เสน่หาอัจฉริยา พ่วงแก้วครองวงศ์ มุสิกถาวรSuyada OrawongphaisalChongjit SanehaAutchariya PoungkaewKhrongwong Musikatavorn2024-06-282024-06-282567-06-282566วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2566), 34-41https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99159วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนต่อความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วยเร่งด่วนในห้องฉุกเฉิน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติของผู้ป่วยเร่งด่วนที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินจำนวน 84 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 42 ราย และกลุ่มควบคุม 42 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และหลังจากผู้ป่วยเข้าไปในห้องฉุกเฉินเป็นเวลา 90 นาที ทั้งสองกลุ่มจะได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วย 5 นาที เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและญาติ แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการสนับสนุนด้านข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลหลังได้รับโปรแกรมและหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) หลังได้รับโปรแกรมฯ ความแตกต่างของคะแนนความวิตกกังวลระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมในกลุ่มทดลองมีมากกว่าคะแนนความแตกต่างในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) อย่างไรก็ตาม หลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ความแตกต่างของคะแนนความวิตกกังวลระหว่างก่อนและหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน (p > .05) นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนสามารถลดความกังวลของญาติผู้ป่วยเร่งด่วนในขณะรออยู่นอกห้องฉุกเฉินได้ พยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในการปฏิบัติพยาบาลตามปกติPurpose: To examine the effect of concrete-objective informational support program via smartphone application on anxiety among relatives of urgent patients in emergency room. Design: Quasi-experimental design. Methods: The sample were 84 relatives of urgent patients receiving care at the emergency room and randomly assigned to either the experimental group (n = 42) and the control group (n = 42). The experimental group was received concrete-objective informational support program while the control group was received routine nursing care. and after patients getting into the emergency room for 90 minutes, both groups were allowed to visit the patients for 5 minutes. Data were collected using a demographic questionnaire of patients and relatives, State-Anxiety Inventory, Visual Analogue Scale for Anxiety, and Satisfaction about Informational Support Program Questionnaires. Data were analyzed using chi-square test, t-test and repeated measures ANOVA. Main findings: The post-test anxiety scores of the experimental group after receiving the program and after visiting the patients were significantly lower than that of the pretest anxiety score (p < .001). After receiving the program, the difference of anxiety score between pre-test and post-test after receiving the program in the experimental group was significantly greater than that in the control group (p < .001); however, the difference of anxiety score between pre-test and post-test after visiting the patient was not statistically significant (p > .05). In addition, the mean state-anxiety score at post-test after visiting the patient in both experimental and control groups were not significantly different (p > .05). Conclusion and recommendations: The concrete-objective informational support program via smartphone application can reduce the anxiety among relatives of urgent patients while waiting outside the emergency room. Therefore, nurses should apply the program with this population as their routine practice.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความวิตกกังวลห้องฉุกเฉินการสนับสนุนด้านข้อมูลญาติผู้ป่วยวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ต่อความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วยเร่งด่วนในห้องฉุกเฉินThe Effect of Concreate-objective Informational Support Program via Smartphone Application on Anxiety among Relatives of Urgent Patients in Emergency RoomArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล