จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียรศักดิ์ชัย อนันต์ตรีชัยการวิก กีรติวุฒิ2024-07-092024-07-09256325632567สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99525จิตตปัญญาศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของร้านกาแฟที่ีมีการเรียนรู้มิติภายในตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและเพื่อศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในของผู้ใช้บริการร้านกาแฟที่สอดคล้องกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา งานวิจัยนี้ศึกษาประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. องค์ประกอบของร้านกาแฟ 2. กิจกรรมหรือกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในร้านกาแฟที่สอดคล้องกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 3. ประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในของผู้ใช้บริการภายใต้บริบทของร้านกาแฟ การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบกรณีศึกษา (Case Study) จากกรณีศึกษาร้านกาแฟจำนวน 2 ร้าน ได้แก่ ร้านลิตเติลทรีคาเฟ่ และ ร้านฟาท่อมบุ๊คสเปซ โดยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมของผู้วิจัย และการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของร้านกาแฟจำนวน 4 คน และผู้ใช้บริการร้านกาแฟแห่งนั้นเป็นประจำ จำนวน 7 คน รวมจำนวน 11 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในของผู้ใช้บริการ ตลอดจนชุมชนการเรียนรู้มิติภายในสามารถเกิดขึ้นภายใต้บริบทของร้านกาแฟได้ โดยมีหัวใจสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. คุณภาพภายในของเจ้าของร้าน 2. องค์ประกอบเชิงกายภาพของพื้นที่และบรรยากาศ 3. กิจกรรมและ กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ใช้บริการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงมิติภายในภายใต้บริบทร้านกาแฟในด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพันาความสัมพันธ์ และด้านความเข้าใจธรรมชาติและการใช้ชีวิตอย่างสมดุลหลอมรวมกับสรรพสิ่ง ซึ่งประสบการณ์การเรียนรู้มิติภายในของผู้ใช้บริการภายใต้บริบทของร้านกาแฟเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงมิติภายในที่สอดคล้องกับวิถีของจิตตปัญญาศึกษาทั้งสิ้นThis research aims to study the compositions in cafe of contemplation, a cafe that implements inner dimension learning process according to Contemplative Education into its business as well as study the inner dimension experiences of cafe's customers. This research focuses on the following essential aspects, namely physical environment and atmosphere of the cafe, activities in the cafe, and customers' inner learning experiences obtained from the cafe. This is a qualitative research that employs a Case Study methodology by using researcher's observation and unstructured interviews with 4 cafe owners and 7 customers from two selected cafes, Fathom Book Space and Little Tree Cafe, which are implementing contemplative activities in the cafe. The results show that there are 3 essences of learning cafe which has impacts on customers' inner learning. These essences are 1) inner qualities of cafe owners, 2) physical environment and atmosphere of cafe, and 3) activities in the cafe. Moreover, this research also finds that customers experienced inner transformation under the context of a cafe. Furthermore, the cafe has been creating a community for their inner learning. The customers experience the transformation in self-development, better relationships, connection to nature and surroundings. It can be clearly seen that these inner transformations are the transformations in accordance with Contemplative Education that enable ones to live a balanced life.ก-ญ, 146 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าร้านกาแฟจิตตปัญญาศึกษาจิตตปัญญา คาเฟ่ : ร้านกาแฟเพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาCafe of contemplation : Cafe for contemplative learningMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล