พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณฉวีวรรณ บุญสุยาภูษิตา อินทรประสงค์วันเพ็ญ แก้วปานพิทยา จารุพูนผลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.2015-08-282021-09-152015-08-282021-09-152558-08-282544https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63530ประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 9 เรื่องการกระจายอำนาจ: ผลกระทบและทิศทางการพัฒนาสุขภาพ, วันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2544 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544. หน้า 108.การปฏิรูประบบงานบริการสาธารณสุขให้มีมาตรฐานและมีคุณภาพโดยเกิดปะโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ฝ่าย ส่งเสริมสุขภาพและฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรคเกี่ยวกับกรอบอัตรากำลัง บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่ง ภาระงาน ขั้นตอนในทำงาน การลื่นไหลของงาน ความยากง่าย และเวที่ใช้ในการทำงานทุกภารกิจ ผลลัพธ์ของงาน ข้อผิดพลาดจากการทำงานรวมถึงความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน แล้วนำผลการวิเคราะห์มาเป็นกรอบพื้นฐานเกี่ยวกับการสึกษาความเป็นไปได้ของการถ่ายโอนภารกิจไปสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รูปแบบการวิจัยสำรวจเชิงพรรณนาและงานวิจัยเชิงคุณลักษณ์ ตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล จำนวน 80 คน หัวหน้าฝ่ายและนักวิชาการทั้งฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรค จำนวน 242 คน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆของฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรค จำนวน 591 คน ในโรงพยาบาลชุมชนทุกขนาด รวมถึงผู้บริหารระดับสูงในกระทราวงสาธารณสุข การสุ่มตัวอย่างใช้ใช้วิธี Stratified Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตอบด้วยตนเองเกี่ยวกับการวิเคราะห์บทบาทที่รับผิดชอบ และภาระงานการบันทึกประจำวันในรอบ 1 เดือน วิเคราะห์กฎ ระเบียบ นโยบาย แผนงาน/โครงการ จัดกระบวนการกลุ่มในลักษณะต่างๆ การสัมภาษณ์ สังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ F-test ส่วนเชิงคุณภาพใช้วิธี Inductive Content Analysis การศึกษาความพร้อมในการถ่ายโอน โดยใช้กระบวนการกลุ่มและสัมภาษณ์เจาะลึกจากเจ้าหน้าที่แบะคณะกรรมการ อ.บ.ต. ที่อำเภอกำแพงแสน และอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมในช่วงระยะเวลา พ.ศ.2542-2543 ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่ากรอบอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติงานยังไม่เหมาะสม มีผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของงานถึงร้อยละ 98.7 ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเห็นว่าน่าจะเพิ่มศักยภาพของผู้ปฏิบัติมากกว่าเพิ่มกรอบอัตรากำลัง โดยทั่วไปลักษณะงานที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติมีความสำคัญและการนำไปใช้ประโยชน์ระดับสูงตามการรับรู้ของผู้อำนวยการโรงพยาบาล และหัวหน้าฝ่ายนักวิชาการของทั้งสงอฝ่ายเห็นว่าอยู่ในระดับสูงชเนกัน แต่ระดับความยากง่ายของงานส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลางจนถึงง่าย แต่ไม่สามารถทำได้ครอบคลุมเพราะภาระงานล้นเกิน เมื่อพิจารณาถึงปริมาณเวลาที่ใช้ตามสัดส่วนลีกษณะงานด้านบริหาร บริการ การศึกษาอบรม งานวิจัย และอื่นๆ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เวลาทำงานด้านบริการ รองลงมาได้แก่ งานบริหาร สำหรับงานวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบงานยังทำได้น้อยทุกระดับทั้งสองฝ่าย อนึ่งการเตรียมพร้อมเพื่อการถ่ายโอนงานด้านการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคแก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับตำบล พบว่ามี 4 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทำได้เอง กิจกรรมที่ต้องการการฝึกอบรมทักษาของผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นก่อน กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภารกิจที่กระทรวงสาธารณสุขควรรับผิดชอบเอง ผลการวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโดยควรมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานในบางตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การจัดสรรสัดส่วนภาระงานของผู้ปฏิบัติในแต่ละตำแหน่งในด้านบริหาร การผสมผสานลักษณะของงานทั้งสองฝ่ายร่วมกันเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของงาน เพิ่มความครอบคลุมเนื้องาน คุณภาพและมาตรฐานของการปฏิบัติ ให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุดแก่สุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนไทยthaมหาวิทยาลัยมหิดลการวิเคราะห์ปริมาณงานโรงพยาบาลชุมชนสุขาภิบาลการวิเคราะห์ลักษณะและปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ และฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรคของโรงพยาบาลชุมชนProceeding Abstract