ณัฐกาญจน์ การัณยภาสสกุลอาภาวรรณ หนูคงอรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์Nattakan KaranyapassakulApawan NookongArunrat Srichantaranit2024-10-042024-10-042567-10-042567https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/101447วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมอาการของเด็กวัยเรียนโรคหืด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยเรียนโรคหืดที่มารับบริการในคลินิกโรคหืดอย่างง่ายที่โรงพยาบาล 2 แห่ง ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน มีการจับคู่อายุและระดับการควบคุมอาการโรคหืด กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับการควบคุมอาการโรคหืด และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคหืด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบที และไคสแควร์ ผลการวิจัย: เด็กวัยเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.46, p < .001) และร้อยละของเด็กในกลุ่มทดลองอยู่ในระดับควบคุมอาการได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi2 = 7.22, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน สามารถส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนโรคหืดมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ส่งผลให้ระดับการควบคุมอาการโรคหืดดีขึ้น บุคลากรทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมอาการของเด็กวัยเรียนโรคหืดPurpose: To study the effects of a planned behavior program via smartphone applications on asthma care behavior and asthma symptom control in school-age children with asthma. Design: Quasi-experimental research. Methods: The sample included 50 school-aged children from easy asthma clinics at 2 hospitals in Nakhon Pathom province. The participants were assigned into the control group (N = 25) and experimental group (N = 25) matched by age and level of asthma symptom control. In the 8-week program period, the control group received usual care, and the experimental group received a planned behavior program via smartphone applications, which employed Ajzen planned behavior theory. The instruments were asthma symptom control questionnaires and asthma care behavior questionnaires. Data were analyzed by independent t-test and a chi-square test. Main findings: The results revealed that the experimental group had significantly higher scores of asthma care behavior than the control group. (t = 4.46, p < .001), and the experimental group had a significantly higher percentage of children with asthma symptom control levels than those in the control group. (gif.latex?\chi2 = 7.22, p < .05). Conclusion and recommendations: It has been shown that a planned behavior program via smartphone applications can improve asthma care behaviors and levels of asthma symptoms control in school-aged children with asthma. Health care personnel should apply the program to promote asthma care behavior and symptom control among school-aged children with asthma.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโรคหืดพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเรียนการควบคุมอาการทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนasthmacare behaviorschool-age childrensymptom controltheory of planned behaviorวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมอาการของเด็กวัยเรียนโรคหืดEffects of a Planned Behavior Program via Smartphone Applications on Asthma Care Behavior and Asthma Symptom Control in School-age Children with AsthmaArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล