อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุลจรรยา เศรษฐบุตรกาญจนา ตั้งชลทิพย์วรรณี หุตะแพทย์2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประชากรศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93693ประชากรศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความผาสุกของผู้ดูแลในด้านความผาสุกทางกาย ความผาสุกทางใจ ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และความผาสุกทางสังคม 2) ศึกษาความแตกต่างของความผาสุกของผู้ดูแล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยครัวเรือน และปัจจัยชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 304 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Multiple comparison) ด้วย Scheffe Test ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลมีความผาสุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.09) โดยที่ความผาสุกทางกาย และความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.70 และ xˉ= 3.32 ตามลำดับ) ความผาสุกทางใจ และความผาสุกทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 2.86 และ xˉ = 2.47 ตามลำดับ) และพบว่าผู้ดูแลที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันจะมีความผาสุกแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ดูแลที่เป็นบุตรจะมีความผาสุกทางกายและจิตวิญญาณมากกว่าผู้ดูแลที่เป็นหลานและคู่สมรส ผู้ดูแลที่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ผู้ดูแลที่รับรู้ว่าผู้สูงอายุไม่เป็นภาระในการดูแลจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่รับรู้ว่าผู้สูงอายุเป็นภาระในการดูแล ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาระดับน้อยจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาระดับมาก ผู้ดูแลที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระดับมากจะมีความผาสุกทางใจ ทางจิตวิญญาณ และทางสังคมมากกว่าผู้ดูแลที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุระดับน้อย ด้านปัจจัยครัวเรือน พบว่า ผู้ดูแลที่มีรายได้ครัวเรือนตั้งแต่ 5,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ผู้ดูแลที่มีสัมพันธภาพในครัวเรือนระดับมากจะมีความผาสุกทางใจ ทางจิตวิญญาณและทางสังคมมากกว่าผู้ดูแลที่มีสัมพันธภาพในครัวเรือนระดับปานกลางและระดับน้อย ผู้ดูแลที่มีผู้ช่วยดูแลในครัวเรือนจะมีความผาสุกทางกายมากกว่าผู้ดูแลที่ไม่มีผู้ช่วยดูแลในครัวเรือน สำหรับด้านปัจจัยชุมชน ผู้ดูแลที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับมากจะมีความผาสุกทางใจทางจิตวิญญาณ และทางสังคมมากกว่าผู้ดูแลที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลางและระดับน้อย ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษานี้นำไปสู่ข้อเสนอะแนะที่ว่า ทุกภาคส่วนที่อยู่ในเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุควรให้การสนับสนุนทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สุงอายุ การสนับสนุนทางสังคม และการส่งเสริมสัมพันธภาพในครัวเรือนก-ญ, 131 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าผู้สูงอายุ -- การดูแลที่บ้านผู้ดูแลผู้ดูแล -- จิตวิทยาความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีThe well-being of the elderly's caregivers in Tamaka district, Kanchanaburi provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล