ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ชลธิรา ปะนาโส2024-01-122024-01-12255925672559สารนิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92542สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และแผนกที่ปฏิบัติงาน โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม การวิคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วยจำนวนความถี่และร้อยละ การวิเคราะห์การรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นอิสระต่อกัน ( t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่มีอิสระต่อกัน (One Way Analysis of Variance: ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.4 0 อายุระหว่าง 30-40 ปี ร้อยละ 41.8 0 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 51.1 0 เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับ RN5 ปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 37.5 0 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 89.10 ระดับการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลจำแนกตามรายด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.98 ร้อยละ 74.00 แสดงว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีการรับรู้ความเสี่ยงด้านจริยธรรม กฎหมายสูงมาก มีโอกาสลดความผิดพลาดในการเกิดความเสี่ยงต่อจริยธรรมและกฎหมายวิชาชีพได้ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลจำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงานและแผนกที่ปฏิบัติงาน พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่มีเพศ อายุ และแผนกปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยเพศหญิงมีการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพมากกว่า เพศชาย และ ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมไม่แตกต่างกัน อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า พยาบาลตั้งแต่จบใหม่ (RN1) จนกระทั่งเป็นพยาบาลระดับอาวุโส R(N5) มีประสบการณ์ในการทำงานที่รับรู้ถึงความเสี่ยงทางด้านจริยธรรมและกฎหมายวิชาไม่แตกต่างกัน อันจะส่งผลให้พยาบาลสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ความเสี่ยงในการปฏิบัติงานได้ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยผู้บริหารของโรงพยาบาลควรจัดให้มีการส่งเสริมในการพัมนาระบบการจัดการ ข้อร้องเรียนหรือระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งแผนกผู้ป่วยนอก และ ผู้ป่วยใน เพื่อลดปัญหาความเสี่ยงของการรักษาและมุ่งสู่การพัฒนาการบริการทางด้านการแพทย์ พยาบาลที่มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้นThis study was a descriptive research with the objective of assessing the perception of professional nurses about risk relating to nursing ethical practice in Somdech Phra Pinklao Hospital, Department of Navy Medicine .The study had classified the studied population by sex, age, working experience and place of work. The studied population were 184 nurses in the hospital, the research tool used for data collection was questionnaires. Statistics used for analysis of personal variables were frequency and percentage and the analysis of perception about risks relating to nursing ethical practice were mean , standard deviation, independent t-test and One Way Analysis Variance (ANOVA). The study found that the majority of the studied population were female (80.40%), aged 30-40 years (41.80%), married (51.10%), professional nurse RN 5 with more than 15 years of working experience (37.50%), had bachelor education (89.10%); all of them worked in 50 divisions of the hospital. The study found that the overall perception of professional nurses about risks related to nursing ethical practice was very high (74.00%), It showed that nurses in the hospital attending to the perceived moral risk in the law was very high, which resulted in the practices according to the professional standards and avoided working performance that caused risks or adverse effects on the job performance. The comparison of the difference between the perceived risks of ethical treatment of the nursing profession, in sex, age, working experience and place of work, found that nurses who had working experience have different risk perceptions towards treatment ethics that did not vary significantly at 0.05. From new nurses (RN1) through to senior nurses (RN5) were experienced in working with perceived risks and ethical and legal subjects, which resulted in different nursing in order to avoid risks in practice. Research Recommendation: The administration of the hospital should improve the efficiency of complaint management about hospital services both in the out-patient department and the in-patient department in order to minimize the risks of inefficient medical treatment and approach higher standards in medical and nursing services.ก-ญ, 236 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการรับรู้ความเสี่ยงจริยธรรมจริยธรรมกับพยาบาลวิชาชีพ -- วิจัยจรรยาบรรณพยาบาล -- วิจัยพยาบาลวิชาชีพการรับรู้ความเสี่ยงของการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือThe perception of risk to preserve the code of ethics in nursing for nurses at Somdech Phra Pinklao Hospital Naval Medical DepartmentMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล