อังศุนิตย์ พรคทาทัศน์สถาพร ขนันไทยพิจิตรา สมบูรณ์ภัทรกิจศักดา กองพัฒน์พาณิชย์2024-04-172024-04-172023-07-252023https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98012การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 11 ประจำปี 2566 หัวข้อ “Disruptive innovation in Medicine” ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม. 29-31 มีนาคม 2566 . หน้า 231- 256การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการให้ยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์สำหรับโรคปอดอักเสบติดเชื้อและติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนออนไลน์ย้อนหลังจากระบบโปรแกรม SSB ของโรงพยาบาล ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ผู้ป่วยตามเกณฑ์การศึกษาได้รับเลือกมาจานวน 292 คน เพื่อทบทวนข้อมูลย้อนหลังและประเมินความเหมาะสมของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์ โดยความเหมาะสมของการใช้ยาจะถูกประเมินตามแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อปอดอักเสบ (IDSA Guideline 2007) หรือทางเดินปัสสาวะ (EAU Guideline 2018) และเอกสารกำกับยาแต่ละชนิด หรือผลความไวของยาปฏิชีวนะ ในด้านของชนิด ขนาดและการบริหารยาต้านจุลชีพ โดยเภสัชกรผู้ร่วมวิจัย 2 คนที่เป็นอิสระต่อกัน และมีการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความเหมาะสมของการใช้ยาโดยใช้ Univariate Chi-Square Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยรวม 292 คนได้รับการประเมิน แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 165 คนซึ่งได้รับยาอย่างเหมาะสม 129 คน (ร้อยละ 78.2) โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือขนาดยาหรือความถี่ของการบริหารยาไม่เหมาะสม (41 คน คิดเป็นร้อยละ 24.85) และสำหรับโรคปอดอักเสบ (127 คน) มีผู้ป่วยที่ได้รับยาเหมาะสม 44 คน (ร้อยละ 34.6) โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือการเลือกชนิดยาไม่สอดคล้องกับแนวทางการรักษา (40 คน คิดเป็นร้อยละ 31.50) ในโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การใช้ยาอย่างเหมาะสมตามแนวทางการรักษาหรือผลความไวเชื้อสัมพันธ์กับประวัติการได้รับยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (X2=6.54, p=0.01) และประวัติการได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (X2=14.26, p<0.01) ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ประวัติการทำหัตถการในระบบทางเดินหายใจ (X2=9.06,p<0.01) และประวัติการติดเชื้อแบบเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ (X2=9.05, p<0.01) นั้นสัมพันธ์กับการใช้ยาอย่างเหมาะสม ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะแบบคาดการณ์นั้นมีความแตกต่างกันระหว่างข้อบ่งใช้ และผู้ป่วยบางกลุ่มอาจมีโอกาสได้รับยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้างที่เหมาะสมมากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแพทย์ควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นผลวิจัยนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเพาะกับโรงพยาบาล ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการใช้ยาปฏิชีวนะในอนาคตและใช้กำหนดตัวชี้วัดที่เป็นบรรทัดฐานของโรงพยาบาลภายหลังจากเริ่มดำเนินการโครงการควบคุมกากับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมต่อไปapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้ายาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้ออย่างกว้างโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคปอดอักเสบAntibioticEmpirical antibioticUrinary tract infectionPneumoniaความเหมาะสมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ อย่างเหมาะสมที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง : การศึกษาเชิงพรรณนาAppropriateness and Factors Associated with Proper Use of Empirical Antibiotic at a Secondary-Care Hospital: A Descriptive StudyResearch Articleมหาวิทยาลัยมหิดล