ดุษณี สุทธปรียาศรีณัฐกมล ชาญสาธิตพรพิทยา จารุพูนผลภักดี สี่ศิลปชัยอาภา วัฒนะโชติปรีชา จารุสุนทรศรีเพลินพิศ วัชรโชติPhitaya CharupoonpholDusanee Sutapreyasriมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยา.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.2012-11-162020-09-212012-11-162020-09-212539https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58705การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องของคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพการบริการทั้งหมด (TOTAL QUALITY MANAGEMENT) ยึดความพึงพอใจของผู้ป่วย และติดตามปรับปรุงคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์การ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความเห็นของผู้ป่วยและผู้ให้บริการที่คลินิก 4 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งผู้บริหารโรงพยาบาลทั่วประเทศเกี่ยวกับการบริการมุ่งคุณภาพที่คลินิกยาเสพติด ผู้ป่วยจำนวน 305 ราย ผู้ให้บริการ 33 ราย และผู้บริหารโรงพยาบาลจำนวน 145 ราย เป็นตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทางแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการทดสอบ Validity และมีค่า Reliability 0.8842 ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจต่อสถานบริการ และกระบวนการบริหารในระดับมาก ระดัความพึงพอใจไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังที่จะเลิกใช้ยาเสพติด และจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยไปบำบัดรักษาการติดยาเสพติด ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลิกใช้ยาเสพติดเช่นเดี่ยวกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ Alpha 0.05 จึงแสดงว่ามีตัวแปรอื่นๆ ที่มีปัจจัยต่อการเลิกใช้ยาเสพติด เช่น ครอบครัว ชุมชน และสังคม ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการที่มุ่งคุณภาพที่คลินิกยาเสพติด พบว่า มีความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการกับผู้บริหารโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญที่ Alpha 0.05 ได้แก่สถานบริการและกระบวนการ การบริการบางเรื่อง แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการกับผู้บริหารโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ (P 0.05) เกี่ยวกับการบริหารมุ่งคุณภาพทุกเรื่อง และความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้และความสามารถ และทักษะของผู้ให้บริการที่คลินิกยาเสพติด รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ การบริการมุ่งคุณภาพที่คลินิกยาเสพติด เป็นจุดเล็กๆ ของการบริการมุ่งคุณภาพทั่วทั้งองค์การ จำเป็นที่รัฐต้องมีนโยบายที่ชัดเจนและสนองตอบนโยบายโดยทีมงานภายในองค์การทุกกลุ่ม พร้อมกับฝึกอบรมกำลังคนให้มีทักษะความรู้ ความสามารถในการบริการกับผู้ป่วยให้เลิกใช้ยาเสพติดอย่างได้ผล ตั้งแต่ครั้งแรกที่ผู้ป่วยมารับบริการที่คลินิก พร้อมทั้งดำเนินการควบคุมสารเสพติดที่มีอยู่ในตลาดที่ซื้อหาได้ง่ายให้หมดไป รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผลthaมหาวิทยาลัยมหิดลรูปแบบสถานพยาบาลรูปแบบยาเสพติดการรักษาการติดยาเสพติดรายงานการวิจัยการสร้างรูปแบบการเพิ่มพูนคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่องที่คลินิกยาเสพติดResearch Reportมหาวิทยาลัยมหิดล