Komson KiatrungritSirichai HongsanguansriChosita PavasuhipaisitNatthakarn Kaewpradub2024-01-252024-01-25201520242015Thesis (M.Sc. (Child, Adolescent and Family Psychology))--Mahidol University, 2015https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94016Child, Adolescent and Family Psychology (Mahidol University 2015)การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตกับความพึงพอใจในภาพลักษณ์และพฤติกรรมการกินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ในระบบการศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 620 คน กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อและอินเทอร์เน็ต ความพึงพอใจในภาพลักษณ์ (BESAA) ความพยายามในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อของตนเอง (DMS) ความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์ก ทัศนคติและพฤติกรรมการกิน (EAT-26) และแบบสอบถามที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินที่เสี่ยงต่อโรคอ้วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, Spearman Rank Correlation Coefficient, Chi-square test, T-test และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 15.7 ± 1.9 ปี เพศชาย 246 คน (ร้อยละ 39.7) เพศหญิง 374 คน (ร้อยละ 60.3) มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์และพฤติกรรมการกินมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ (p=.017 และ p=.016 ตามลำดับ) แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกับทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ การกินที่ควบคุมไม่ได้ (Binge) การล้วงคออาเจียน (Purging) การลดน้ำหนักโดยการใช้ยาระบาย ยาลดน้ำหนัก หรือขาขับปัสสาวะ (p<0.001) และพฤติกรรมการกินที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน (p<0.01 และ p=.011 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตมากมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ที่ลดลงและพฤติกรรมการกินที่มีปัญหาThis thesis purposes air quality classification based on six variables of the air quality index (AQI) in Thailand i.e. O3, NO2, CO, SO2, PM10 and levels of health concerns. The classification results are compared using JRip, Multi-layer Perceptron and C4.5 decision tree. The results show that averaging the accuracies of the classifications used by the C4.5, JRip, Multi-layer Perceptron produce approximate values of 90.98, 90.36 and 88.18, respectively, which in terms of the overview in Thailand is 88.29 Therefore, this study suggests that the topography and climate are factors affecting the differences in the rules in the C4.5 decision tree and the levels of the air quality indexxi, 126 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าCompulsive eatingEating disordersBody image in adolescenceInternet users -- PsychologyThe association among internet use behaviors, body image satisfaction and eating behaviors of students grades 7th-12th in the Thai educational system in Bangkokความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตกับความพึงพอใจในภาพลักษณ์และพฤติกรรมการกินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ในระบบการศึกษา กรุงเทพมหานครMaster ThesisMahidol University