Sucheera PhattharayuttawatSupachoke SinghakantSuchanun Kerdphol2024-01-022024-01-02201820242018https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91619Clinical Psychology (Mahidol University 2018)The objectives of this research were to study the levels of self-efficacy and academic burnout of the post-graduate students, to explore the relationship between personal information, self-efficacy, academic burnout, and to investigate how personal information and self-efficacy predict academic burnout. The data were collected from 132 students in the Master Program of the Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, using the questionnaire of personal information, self-efficacy, and academic burnout. The results revealed that self-efficacy scores of post-graduate students were at a moderately high level. Also, the exhaustion which is associated with learning is at a medium level. However, academic burnout, cynicism and reduced efficacy were at a low level. Self-efficacy was associated with academic burnout according to the overall aspects while academic burnout contained 3 elements (exhaustion, cynicism, reduced efficacy). For the variables of personal information, the college years related to academic burnout according to the overall aspects. Besides, gender was related to academic burnout in terms of exhaustion. The college years were related to cynicism and graduation with honor degree in the undergraduate program was related to reduced efficacy. Personal information and self-efficacy predicted the capacity for academic burnout at 24% with statisticance at .05. However, only college years in personal information was significant at .05 level and self efficacy was significant at .01 level. From the results, the students in higher college years were more likely to have high academic burnout, so the activities to promote self-efficacy should be organized for the students in high college years in order to reduce the problem.งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองและระดับความท้อถอยทางการเรียนในนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองและความท้อถอยทางการเรียน อีกทั้งศึกษาความสามารถของข้อมูลส่วนบุคคลและการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำนายความท้อถอยทางการเรียน เก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 132 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามความท้อถอยทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาปริญญาโทมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในระดับค่อนข้างสูง ความท้อถอยทางการเรียนด้านความเหน็ดเหนื่อยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนระดับปานกลาง และความท้อถอยทางการเรียนด้านการมีทัศนคติทางลบต่อการเรียน ด้านความรู้สึกว่าตนไร้ความสามารถในการเรียน และ ความท้อถอยทางการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้การรับรู้ความสามารถของตนเองสัมพันธ์กับความท้อถอยทางการเรียนโดยรวม และความท้อถอยทั้ง 3 องค์ประกอบ สาหรับตัวแปรข้อมูลส่วนบุคคล ชั้นปี สัมพันธ์กับความท้อถอยทางการเรียนโดยรวมและด้านการมีทัศนคติทางลบต่อการเรียน เพศสัมพันธ์กับความท้อถอยทางการเรียนด้านความเหน็ดเหนื่อยที่เกี่ยวข้องกับการเรียน และการได้รับเกียรตินิยมในระดับปริญญาตรีสัมพันธ์กับด้านความรู้สึกว่าตนไร้ความสามารถในการเรียน ข้อมูลส่วนบุคคลและการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกันทำนายความท้อถอยทางการเรียนได้ร้อยละ 24 ที่ระดับ .05 โดยมีตัวแปรชั้นปี และการรับรู้ความสามารถของตนเองมีน้ำหนักทำนายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .01 ตามลำดับ จากผลการวิจัยที่พบว่านักศึกษาชั้นปี ที่สูงขึ้นมีแนวโน้มเกิดความท้อถอยทางการเรียนสูงดังนั้นควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองสำหรับนักศึกษาชั้นที่สูง ๆ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวxi, 92 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าBurn out (Psychology)Education -- Thailand -- Psychological aspectsGraduate students -- Psychological aspectsFactors related to academic burnout among graduate students in one government universityปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความท้อถอยทางการเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งMaster ThesisMahidol University