อ่อนอุษา ขันธรักษามณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์นิรัตน์ อิมามีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาสาธารณสุขศาสตร์2022-07-232022-07-232565-07-232564วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2564), 156-170https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72232โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย การส่งเสริมให้ ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมนั้น สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ อันตรายต่อสุขภาพได้ การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุน ทางสังคมและการรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการ ณ สถานบริการสาธารณสุขเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัด อุบลราชธานี จำนวน 321 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติทดสอบ ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือด แต่ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา สถานบริการ สาธารณสุขควรมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการฝึกทักษะเชิงพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้ง 3 พฤติกรรม ได้แก่ การรับประทานยาที่ถูกต้อง การบริโภคอาหารที่เหมาะสม และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วย เบาหวานปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างเหมาะสมDiabetes mellitus is one of the serious chronic diseases and is the important public health problem of Thailand. Therefore, promoting the diabetic patients to be able to do self-care and perform blood sugar control behaviors will be helpful for lowering dangerous complications. This cross- sectional survey research was aimed to study the association between social support, selfefficacy, and blood sugar control behaviors of Type 2 diabetic patients. The sample were 321 Type 2 diabetes patients who received the health services at Srimuangmai District Public Health Center, Ubon Ratchathani Province. Data collection was done by self-administered questionnaires. The data was analyzed by descriptive statistics, Chi- square test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The research results reveled that the perceived self- efficacy was significantly related to the blood sugar control behaviors ( p<0. 05) . For social support, no significant relationship was found with the blood sugar control behaviors. This finding can be applied in organizing the activities to promote the perceived self- efficacy in the diabetes patients to enable them to control the blood sugar levels for appropriate complications prevention.thaมหาวิทยาลัยมหิดลแรงสนับสนุนทางสังคมการรับรู้ความสามารถตนเองพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ความสัมพันธ์ระหว่าแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2Association between Social Support, Self-Efficacy, and Blood Sugar Control Behaviors of Type II Diabetic PatientsResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล