นันทพร พ่วงแก้วโสภาพรรณ เงินฉ่ำสุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ญาดา หงษ์โตมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-102021-09-102564-09-102561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63473ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 225วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกต่อระยะเวลาในกระบวนการบริการทั้งหมดและอัตราการเจาะเลือดวัดระดับไมโครบิลิรูบินในทารกตัวเหลือง รูปแบบการวิจัย : Retrospective-prospective studyวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดที่นัดมาติดตามภาวะตัวเหลือง ที่หน่วยตรวจโรคกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช 143 ราย อายุ 3-14 วัน อายุครรภ์ ≥ 35 สัปดาห์ คัดเลือกประชากรแบบเจาะจง 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษาเก็บข้อมูลไปข้างหน้าโดยให้บริการตามแนวปฏิบัติฯ 72 ราย กลุ่มเปรียบเทียบเก็บข้อมูลย้อนหลังอย่างเป็นระบบ 71 ราย ผลการวิจัย : ทารกกลุ่มศึกษามีระยะเวลาในกระบวนการบริการทั้งหมดเฉลี่ย (159.16 นาที) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ(191.66 นาที) อย่างมีนัยสำคัญ (p .001) กลุ่ม ศึกษามีอัตราการเจาะเลือด (33.3 % ) น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (54.9%) อย่างมีนัยสำคัญ (p.009) สรุป : การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ลดระยะเวลารอรับบริการ และลดอัตราการเจาะเลือดทารกตัวเหลือง คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางคลินิก ระยะเวลาในกระบวนการบริการทั้งหมด ค่าบิลิรูบินทางผิวหนัง ไมโครบิลิรูบิน ทารกตัวเหลืองthaมหาวิทยาลัยมหิดลทารกแรกเกิดโรคกุมารเวชศาสตร์การเจาะเลือดทารกตัวเหลืองThe effect of clinical pathway on neonatal jaundice service duration in Pediatric Outpatient Department, University Hospital in ThailandProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล