สุวัฒน์ ศรีสรฉัตร์ทัศนีย์ รวิวรกุลติราพร ทองที2024-01-122024-01-12256025672560วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92533สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการบริโภคอาหารของเด็กเตี้ยอายุ 10-12 ปี อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย อายุ10-12 ปี จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบคัดกรองเด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย (2) แบบถามด้านปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม (3) แบบบันทึกอาหารบริโภค เป็นเวลา 3 วัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent - sample T test และChi-Square test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.83) เป็นเด็กเตี้ย-สมส่วน (ร้อยละ 68.86) อาศัยอยู่ในครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 63.94) แบบแผนการบริโภคอาหารเฉลี่ย 3 วัน พบว่า เด็กเตี้ยได้รับพลังงานเฉลี่ย (977.35 ± 205.60 กิโลแคลอรี) โปรตีน (32.83 ± 7.13 กรัม) คาร์โบไฮเดรต(154.41 ± 33.38 กรัม) ไขมัน (25.27 ± 8.69 กรัม) แคลเซียม (215.29± 49.35 มิลลิกรัม ) และสังกะสี (3.61±0.86มิลลิกรัม) ต่ำกว่าข้อแนะนำ DRI เด็กเตี้ยกินอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง (3.83±0.88 ทัพพี) ผัก (2.59±1.34 ช้อน) ผลไม้ (0.53±0.66 ส่วน) นมจืดครบส่วน (0.51±0.34 ส่วน) และน้ำมัน (3.45 ± 3.09 กรัม) ต่ำกว่าส่วนบริโภคที่แนะนำ ตามกลุ่มอาหารของธงโภชนาการ (ร้อยละ 100) ยกเว้นกลุ่มเนื้อสัตว์ (6.41±1.50 ช้อน) กินตามส่วนบริโภค เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการกินระหว่างเด็กเตี้ย-ผอม กับ เตี้ย-สมส่วน เด็ก 2 กลุ่มได้รับพลังงานเฉลี่ย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แคลเซียม และสังกะสีแตกต่างกัน (p<0.05) และกินอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ และนมจืดครบส่วนแตกต่างกัน (p<0.05) สรุปเด็กเตี้ยกินอาหารไม่เพียงพอ แต่เด็กเตี้ย-สมส่วนยังกินอาหารในปริมาณที่ดีกว่าเด็กเตี้ย-ผอม ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบปัจจัยนำ ด้านเพศมีความสัมพันธ์กับการได้รับโปรตีนและสังกะสี (p=0.02) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนแบบแผนการบริโภค และจัดอาหารให้เด็กเตี้ยได้รับปริมาณอาหารที่เพิ่มมากขึ้นตามหลักธงโภชนาการของเด็กอายุ 10-12 ปี เพื่อพัฒนาให้เด็กเตี้ยมีส่วนสูงและน้ำหนัก ให้มีส่วนสูงสมส่วนและสมวัยต่อไปThe objective of this study were to investigate factors related to eating patterns among stunting children aged 10-12 years. Sample were 183 stunting children, age 10-12 years. Data collection was performed by using stunting screening test, questionnaires about predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and food record 3-days. The data were analyzed using statistical methods such as frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent sample T test and Chi-square Test. Results revealed that most of sample were male (56.83 %), stunted-normal weight children (68.86%) and lived in single family(63.94%). 3-days eating patterns showed that stunting children gained the average energy (977.35 ± 205.60 kcal), protein (32.83 ± 7.13 g), carbohydrate (154.41 ± 33.38 g), fat (25.27 ± 8.69g), calcium (215.29± 49.35 g), and zinc ( 3.61±0.86 g) lower than Dietary Reference Intake(DRI), and they ate rice (3.83±0.88 ladles), vegetable (2.59±1.34 spoons), fruit (0.53±0.66 parts), whole milk (0.51±0.34 parts) and oil (3.45 ± 3.09g) lower than serving size according to the nutritional flag. (100 %), except meats which were 6.41±1.50 spoons by serving size according to the nutritional flag. When comparing the eating patterns between stunted-underweight and stunted-normal weight children, it was found that the two groups of children gained different amount of average energy, protein, carbohydrate, fat, calcium, and zinc (p<0.05) and they had different eating patterns for rice, meat and whole milk (p<0.05). In summary, stunting children ate insufficient food, but stunted-normal weight children ate more quantity of food than stunted-underweight children. The analysis of the relationship found that gender factors were related to protein and zinc intake. (p=0.02) The recommendation from the study is to promote the appropriate activities that include predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors for developing an educating program to improve eating patterns, and arranging more food according to the nutritional flag for stunting children to develop their height and weight.ก-ฏ, 173 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการกินผิดปกติในเด็กเด็ก -- ไทย -- การเจริญเติบโตปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการบริโภคอาหารของเด็กเตี้ยอายุระหว่าง 10-12 ปีFactors related to eating patterns among stunting children aged 10-12 yearsMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล