อมรรัตน์ วงศ์ล่ำซำAmornrat Wonglamsamมานิตย์ เชิดเกียรติกุลManit Choetkiertikulสุพินธุ์ รุจิแก้วSuphin Ruchikaewอภิวัฒน์ ฤทธิ์ธาภัยApiwat Rittapaiพรเกียรติ ชื่นจิตอภิรมย์Pornkiat Churnjitapiromมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. โรงเรียนเทคโนโลยีทันตกรรมมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. สำนักงานการวิจัย ศูนย์วิเคราะห์และวิจัยทันตชีววัสดุ2015-02-252017-01-052015-02-252017-01-052015-02-062013-01อมรรัตน์ วงศ์ล่ำซำ, มานิตย์ เชิดเกียรติกุล, สุพินธุ์ รุจิแก้ว, อภิวัฒน์ ฤทธิ์ธาภัย, พรเกียรติ ชื่นจิตอภิรมย์. การหดตัว ความทนแรงดัด และความแข็งผิวของวัสดุฐานฟันเทียมบ่มต่างกันสามชนิด. ว ทันต มหิดล. 2556; 33(1): 30-7.0125-5614 (printed)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1135วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการร้อยละการหดตัว ความทนแรงดัด และความแข็งผิวของ วัสดุฐานฟันเทียมที่มีการบ่มต่างกันสามชนิด วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: วัสดุฐานฟันเทียมที่นำมาศึกษาได้แก่ ทาคิลอน (ชนิดบ่ม เอง) โรเด็กซ์ (ชนิดบ่มด้วยความร้อนแบบอนุรักษ์)และคิวซี 20 (ชนิดบ่มด้วยความร้อน เร็ว) การหดตัวศึกษาโดยวัดความกว้างของแม่แบบและชิ้นตัวอย่าง ณ ตำแหน่งจุดอ้างอิง สามตำแหน่งด้วยดิจิตอลคาลิเปอร์ คำนวณร้อยละการหดตัวของความแตกต่างระหว่าง ความกว้างของจุดอ้างอิงบนแม่แบบและชิ้นตัวอย่าง ทดสอบความทนแรงดัดโดยวิธี ทรีพ้อยท์เบนดิ้งตามมาตรฐานไอเอสโอ 20795-1:2008 ความแข็งผิววัดโดยการทดสอบ ความแข็งผิวชนิดวิคเกอร์ส วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนของร้อยละการ หดตัว ความทนแรงดัด และความแข็งผิว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา: ร้อยละการหดตัวเชิงเส้นของวัสดุฐานฟันเทียมที่มีการบ่มต่างกันทั้งสามชนิด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ความทนแรงดัดและความแข็งผิวของวัสดุฐานฟัน เทียมที่บ่มด้วยความร้อนแบบอนุรักษ์และบ่มด้วยความร้อนเร็วไม่มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญ ความทนแรงดัดและความแข็งผิวของวัสดุฐานฟันเทียมชนิดบ่มเองมีค่าต่ำกว่า ชนิดบ่มด้วยความร้อนทั้งสองชนิดอย่างมีนัยสำคัญ บทสรุป: ผลจากการศึกษานี้พบว่าร้อยละการหดตัว ความทนแรงดัดและความแข็งผิวของ วัสดุฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนเร็วไม่ต่างจากชนิดบ่มด้วยความร้อน แบบอนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญObjective: The purposes of this study were to evaluate percentage of shrinkage, flexural strength and surface hardness of three types of different curing acrylic resin denture base materials. Materials and methods: The following denture base materials were examined: Takilon(self-cured), Rodex (conventional heat-cured) and QC20 (rapid heat-cured). Shrinkage was investigated by measuring the width of moulds and specimens at 3 reference points with digital caliper. The differences between the widths were calculated as percentage of shrinkage. Flexural strength was performed using three point bending test according to ISO 20795-1:2008. Surface hardness was determined by Vickers hardness test. ANOVA was used for analyzing percentage of shrinkage, flexural strength and surface hardness at 0.05 significance level. Results: Percentage of shrinkage of three different curing denture base materials were not significant difference. Flexural strength and surface hardness of conventional heat-cured and rapid heat-cured denture base materials were not significant difference. Flexural strength and surface hardness of self-cured denture base material were significantly lower than conventional heat-cured and rapid heat-cured. Conclusion: According to this study; percentage of shrinkage, flexural strength and surface hardness of rapid heat-cured and conventional heat-cured acrylic resin denture base materials were not significantly different.thaมหาวิทยาลัยมหิดลวัสดุฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิกการหดตัวความทนแรงดัดความแข็งผิวDenture base materialAcrylic resinShrinkageFlexural strengthSurface hardnessOpen Access articleวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดลMahidol Dental Journalการหดตัว ความทนแรงดัด และความแข็งผิวของวัสดุฐานฟันเทียมบ่มต่างกันสามชนิดShrinkage, flexural strength and surface hardness of three types of different curing denture base materials.Articleคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล