ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์อรพิน ทรัพย์ล้นมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2014-08-272017-10-252014-08-272017-10-252557-08-272554-09วารสารประชากร. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (2554), 71-89.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2944ตามกฏหมายไทย เมื่อมีการตายเกิดขึ้น เจ้าบ้านหรือผู้พบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีตายภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการตายในบ้านหรือนอกบ้าน และไม่ว่าจะเป็นการตายโดยสาเหตุธรรมชาติหรือผิดธรรมชาติ รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตายของประชากรไทยเมื่อจำแนกตามสถานที่เสียชีวิตเปรียบเทียบกับสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน โดยศึกษาจากฐานข้อมูลทะเบียนการตายจากมรณบัตร พ.ศ.2539-2552 ซึ่งเป็นข้อมูลรายบุคคล ผลการศึกษาพบว่า การตายส่วนใหญ่เป็นการตายในภูมิลำเนา มีเพียงประมาณร้อยละ 11-13 ที่เป็นการไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนา การไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนามีการผันแปรกันตามเพศ อายุ และพื้นที่ เพศชายอายุ 0-14 15-24 25-49 50-74 ปี มีการเสียชีวิตมากกว่าหญิง ส่วนเพศหญิงอายุ 75 ปีขึ้นไปเสียชีวิตนอกภูมิลำเนา มากกว่าชาย เมื่อจำแนกตามภาค กรุงเทพฯ จัดเป็นภาคที่มีร้อยละการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาสูงที่สุดในขณะที่ภาคใต้นั้นมีผู้เสียชีวิตนอกภูมิลำเนาต่ำที่สุด แบบแผนการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาของทั้งชายและหญิงนั้นคล้ายคลึงกัน มีลักษณะของรูปตัววีคว่ำ โดยการเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในกลุ่ม อายุ 15-24 ปี และสาเหตทุ สี่ำ คญั ของการตายในกล่มุ อายุนี้คือจากสาเหตุภายนอกthaมหาวิทยาลัยมหิดลการเสียชีวิตภูมิลำเนาการเสียชีวิตนอกภูมิลำเนาของคนไทย: ศึกษาจากมรณบัตร พ.ศ. 2539-2552Deaths outside residential area of Thais: study from death registration, 1996-2009Article