เอี่ยม ทองดีพระวีราวัฒน์ เถาหอม2024-01-252024-01-25255025672550วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93917พัฒนาชนบทศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา มูลเหตุในการปรับเปลี่ยนอาชีพและพัฒนาการทางอาชีพของชุมชนบ้านโคกลำดวน วิธีการดำเนินงานในด้านการประกอบอาชีพปลูกผักหวาน อาชีพปลูกผักหวานกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพปลูกผักหวาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีรูปแบบของการศึกษาเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกต ผลการศึกษา พบว่า มูลเหตุในการปรับเปลี่ยนอาชีพของคนในชุมชนบ้านโคกลำดวน มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) มูลเหตุหลัก ประกอบด้วย ภัยธรรมชาติ นโยบายการพัฒนาของรัฐ สภาวะการกดกันทางการตลาด ผู้นำในหมู่บ้านคิดนอกกรอบอยู่ต่อเนื่อง และ 2) มูลเหตุรอง ประกอบด้วย การเพิ่มขึ้น-ลดจำนวนประชากร ค่านิยม/ทัศนคติของคนในชุมชน ความต้องการความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความท้อแท้ในการแก้ไขปัญหาและการต่อสู้ สภาพสังขารไม่เอื้ออำนวย และหน่วยงานของรัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาการทางอาชีพในชุมชนบ้านโคกลำดวน มี 4 ยุค ได้แก่ 1) พัฒนาการยุคบุกเบิก 2) พัฒนาการยุคทำหากินและแสวงหาอาชีพ 3) พัฒนาการยุคการเข้าสู่อาชีพที่หลากหลาย และ 4) พัฒนาการยุคเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองภายใต้ระบบวิสาหกิจชุมชน วิธีการดำเนินงานในการประกอบอาชีพปลูกผักหวาน มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนก่อนการเกิดกลุ่ม 2) ขั้นตอนการสร้างกลุ่ม 3) ขั้นตอนการเจริญเติบโตของกลุ่ม 4) ขั้นตอนแก้ไขปัญหาและอุปสรรค และ 5) ขั้นตอนดำเนินกิจกรรมกลุ่มต่อไปอาชีพปลูกผักหวานกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ได้แก่ 1) การผลิตเพื่อยังชีพ 2) มีสิ่งแวดล้อมที่ดี 3) มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นที่หลากหลายกลุ่มอาชีพและกองทุนออมทรัพย์ 4) มีการปรับตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้น 5) การรักถิ่นฐาน 6) การศึกษาดีขึ้น 7) การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 8) การปลูกผักปลอดสารพิษ 9) มีกระบวนการการเรียนรู้อยู่สม่ำเสมอ 10) มีสภาสมาชิก (เวทีประชาคม) 11) การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 12) มีสาธารณูปโภคที่ดี 13) ความสามัคคี และ 14) การพึ่งตนเองสภาพปัญหาและอุปสรรคในการปะกอบอาชีพปลูกผักหวานที่สำคัญ คือ ภัยธรรมชาติ ข้อเสนอแนะ กลุ่มปลูกผักหวานปลอดสารพิษบ้านโคกลำดวน ถ้าต้องการพัฒนากลุ่มให้เจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การออมทรัพย์ ฯลฯ คณะกรรมการบริหารกลุ่ม ต้องสร้างเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เช่น แหล่งขายผลผลิตต้องมีความยุติธรรมมากกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ฯลฯ ตลอดถึงปลุกจิตสำนึกของสมาชิกกลุ่มได้หันกลับมาประกอบอาชีพปลูกผักหวานมากขึ้นThis qualitative research aimed to study the causes of occupational change development in Kok-Lamduan Village, and the of a local Pakhwan vegetables industy. It also consider the development of the people's quality of life in the community as well as the problems and obstacles of growing Pakhwan vegetables. The pattern for data collection of this study was done by questionnaire, interview and observation. The study found that the causes of occupational change in the people in Kok-Lamduan Village were two fold : major and minor causes. The major causes consisted of natural disaster, government policy, market pressure and the off-blocked thinking of the leaders.The minor causes were composed of the increasing and decreasing number of the population, value/attitude of the people in the community, demand for security in residence and profession, economic status, desperation in problem solving, incapable state of body and finally the assistance/support from government agences. Career development in the community of Kok-Lamduan Village could be divided into 4 periods, i.e. pilot period, period of earning the living and seeking for profession, period of different professions and period of self-reliance community economy under the enterprise's system. The operational method of growing Pakhwan vegetables had 5 steps : pregroup setting ; group forming ; group growth ; problem and obstacle solving ; and future activities of the group. It was also found that growing Pakhwan vegetables and the development of the people's quality of life in the community induced many aspects of change, i.e. the production for earning the living, good environment, the establishment of group with various types of professions and saving fund, better adaptation to the economy, love of residence, better education, happy life, growing of chemical-free Pakhwan vegetables, continual opportunity for learning, having a council (community forum), receiving support from outside agences, good public utility, unity and self- reliance. Natural disaster was an important factor in Pakhwan vegetables growing. For recommendations, of the growers of chemical-free Pakhwan vegetables at Kok-Lamduan Village wanted to improve the quality of production, the transformation of product, money saving, etc. the executive committee of the group must promote more networks. For instance, the selling place of the production had to be fairer than it is at present. More members of the group were encouraged to return to grow Pakhwan vegetables.ก-ฏ, 394 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการพัฒนาชุมชน -- ไทย -- นครนายกการพึ่งตนเองคุณภาพชีวิตผักปลอดสารพิษการศึกษาชุมชนพึ่งตนเองหมู่บ้านปลูกผักหวาน : กรณีศึกษาบ้านโคกลำดวน ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายกA study of self-reliance community growing Pakhwan vegetables : a case study of Kok-Lamduan village, Phromani sub-district, Muang district, Nakhon-Nayok provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล