พัชราภา บรรจงเก็บPatcharapa Banjonggebวิไลพรรณ สมบุญตนนท์Wilaipun Somboontanontวีนัส ลีฬหกุลVenus Leelahakulวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชWimonrat Puwarawuttipanichมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์2018-08-312018-08-312561-08-312559วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 34, ฉบับที่ 4 (ต.ค - ธ.ค 2559), 57 - 67https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25249วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภาวะโรคร่วม และแรงสนับสนุน ทางสังคมกับภาวะการทำหนา้ที่ในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 100 ราย ไดด้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแบบสะดวกการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบบสอบถามภาวะโรคร่วม แบบสอบถามการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะการทำหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีภาวะการทำหน้าที่ในระดับน้อยและปานกลาง ร้อยละ 68 และ ร้อยละ 32 ตามลำดับ ปัจจัยด้านประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภาวะโรคร่วม และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมทำนายภาวะการทำหน้าที่ได้ร้อยละ 31.8 โดยแรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = .286 p < .05) สามารถร่วมทำนายภาวะการทำหน้าที่ได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Beta = - .252, p < .05). สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้ความสำคัญกับการใช้ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมในการจัดการกับประสบการณ์มีอาการที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอาการ และควบคุม โรคร่วม เพื่อการส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้ดียิ่งขึ้นนี้Purpose: To examine factors predicting of functional status including symptom experiences, co-morbidity and social support in end stage renal disease older adults receiving hemodialysis. Design: A correlation predictive design. Methods: A total of 100 end stage renal disease older adults receiving hemodialysis were selected for this research by convenience sampling. The data were collected through questionnaires: the personal information, the modified symptom experiences assessment, the Charlson Comorbidity Index, the Multidimention scale of perceived social support, and the Thai-modified functional status questionnaire. Descriptive statistic and multiple regression analysis were used to analyze data. Main findings: The findings revealed that 68% and 32% of subjects displayed mild and moderate functional status, respectively. Symptom experiences, co-morbidity, and social support significantly predicted functional status in end stage renal disease older adults receiving hemodialysis and accounted for 31.8% of variance (p < .05). Social support was the best predictor to functional status (Beta = .286 p < .05) and symptom experience was the second predictor of functional status (Beta = - .252, p < .05). Conclusions and recommendations: Nurses should pay more attention to social support in order to manage the multiple concurrent hemodialysis symptom experiences and control co-morbidity which could enhance their functional status effectively.thaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะการทำหน้าที่ประสบการณ์การมีอาการภาวะโรคร่วมแรงสนับสนุนทางสังคมโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing Scienceปัจจัยทำนายภาวะการทำหน้าที่ในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมFactors Predicting Functional Status in End Stage Renal Disease Older Adults Receiving HemodialysisArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล