ปวีณา แพพานิชพลิศรา อังศุสิงห์Paweena PaephanichPalisara Angsusinghaมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์2022-09-292022-09-292565-09-292556รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2556), 133-1420125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79730วัตุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับการมีเพศสัมพันธ์ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีการวิจัย: ศึกษาในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 3 อายุ 14-16 xu จำนวน 379 ราย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 แบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลรายละเอียดการมีเพศสัมพันธ์ และ Rosenberg self-esteem scale ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา Pearson's chi square, Fisher's exact และ multiple logistic regression ผลการศึกษา: ในเด็กนักเรียนจำนวน 379 ราย พบร้อยละ 6.8 ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามสถิติ Chi-square test ได้แก่ ปัจจัยด้านเพศ โดยเฉพาะในเพศชาย (P = 0.017) เกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 2 (P = 0.001) การอาศัยอยู่กับบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง (P = 0.035) สถานภาพครอบครัวบิดามารดาหย่าร้าง หรือบิดามารดาเสียชีวิต (P = 0.045) จากการวิเคราะห์ต่อโดย multiple logistic regression analysis พบมีเพียงปัจจัยด้านเหรดเฉลี่ยเท่านั้นที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สรุป: ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองไม่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ ขณะที่การมีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาต่ำสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นObjective: To study the relationship between self esteem and sexual intercourse in secondary school students. Method: This was a cross-sectional descriptive study. The grade 9 students from Nawaminthrachinutit Satriwittaya Phutthamonthon school were recruited in this study. After being allowed by their parents to participated in the study, all participants completed the questionnaire asking about general information and history of sexual intercourse experiences. The student's self-esteem was assessed with the Thai versions of the Rosenberg self-esteem scale. Pearson's Chi-square, Fisher's exact test and multiple logistic regression were used to analyze the relationship between self esteem and sexual intercourse. Results: A total of 379 students completed the questionnaire. There were 26 students (6.8%) who has history of sexual intercourse. Factors which correlated significantly with past experience of sexual intercouses, by using Chi-square test, were male gender (P = 0.017), GPA lower than 2 (P = 0.001), living with only mother or father (P = 0.035) and divorced of parents or father/mother have passed away already (P = 0.045). However, after further assessment with multiple logistic regression, there was only one factor that related with history of sexual intercourse in students which was GPA lower than 2. Conclusion: Self-esteem was not associated with history of sexual intercourse but a lower GPA was associated with history of sexual intercourse among secondary school students.thaมหาวิทยาลัยมหิดลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพศสัมพันธ์ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นSelf-esteemSexual intercourse in secondary school studentsความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นThe Relationship Between Self Esteem and Sexual Intercourse in Secondary School Students Article SidebarOriginal Articleภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล