พัชรินทร์ นินทจันทร์พิศสมัย อรทัยพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์Patcharin NintachanPisamai OrathaiPoolsuk Janepanish Visudtibhanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2019-12-112019-12-112562-12-112557รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 20, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2557), 401-4140858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48353การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิง สาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิต และสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ประชากรตัวอย่าง (accessible population) คือ นักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 692 ราย วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทดสอบความตรงของโมเดล สมมติฐานวิจัยและวิเคราะห์รูปแบบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรด้วยโปรแกรม ลิสเรล (LISREL for windows) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า โมเดลสมมติฐานวิจัยมีความ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว และความแข็งแกร่งในชีวิต ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสุขภาพจิตได้ร้อยละ 52 เมื่อ พิจารณาอิทธิพลระหว่างตัวแปรพบว่า เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจมีอิทธิพลทางตรงต่อความ แข็งแกร่งในชีวิตและสุขภาพจิต และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อสุขภาพจิตโดยส่งอิทธิพลผ่านความ แข็งแกร่งในชีวิต บรรยากาศในครอบครัวมีอิทธิพลทางตรงต่อความแข็งแกร่งในชีวิต และมี อิทธิพลทางอ้อมต่อสุขภาพจิตโดยส่งอิทธิพลผ่านความแข็งแกร่งในชีวิต นอกจากนี้ความแข็งแกร่ง ในชีวิตยังมีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาพจิตด้วย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาพยาบาล ที่ประสบเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจน้อย มีบรรยากาศในครอบครัวดี จะมีความแข็งแกร่ง ในชีวิตมากและมีสุขภาพจิตดี ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาลจึงควรลด เหตุการณ์ที่สร้างความย่งุ ยากใจ ส่งเสริมบรรยากาศที่ดีในครอบครัว และเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ในชีวิตให้กับนักศึกษาพยาบาลThis study aims to validate a causal model displaying relationships among negative events, family atmosphere, resilience, and mental health of nursing students. The accessible population using in this study consisted of 692 nursing students studying at a selected university in Bangkok. Descriptive statistics were analyzed using SPSS for windows program. The hypothesized model was validated using the LISREL program. Results of data analysis showed that the hypothesized model fitted to the empirical data. All causal variables (the negative events, family atmosphere, and resilience) could collectively explain 52% of the variance in mental health. When considering the influence of the study variables, the results demonstrated that negative events had direct effect on resilience and mental health and had indirect effects on mental health through resilience. Family atmosphere had direct effect on resilience and had indirect effects on mental health through resilience. Moreover, resilience had direct effect on mental health. The results from this study indicated that nursing students who had few negative events and harmony in the family would be highly resilient and would less likely experience mental health problems. Therefore, the strategies for promoting mental health in nursing students should decrease the negative events and promoting harmony in the family as well as resilience.thaมหาวิทยาลัยมหิดลเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจบรรยากาศในครอบครัวความแข็งแกร่งในชีวิตสุขภาพจิตนักศึกษาพยาบาลFamily atmosphereNegative eventsResilienceMental healthNursing studentsโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิต และสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลA Casual Model of Negative Events, Family Atmosphere, Resilience, and Mental Health of Nursing StudentsResearch Articleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล