พรรณิภา ทีรฆฐิติกิตติพงศ์ พูลชอบเมตตา ปิ่นทองมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา2014-08-252017-03-162014-08-252017-03-162014-08-252553วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, ( ก.ค. 2553), 273-284https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1418การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะ โภชนาการเกิน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายกับระดับภาวะ โภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน รวม 451 คน จังหวัด นครปฐม ใช้ค่าดัชนีมวลกายปรับตามอายุและเพศ (Body Mass Index-Age: BMI-Age) จำแนกระดับภาวะ โภชนาการเกินเป็นกลุ่มที่มีภาวะนํ้าหนักเกินและกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน ตามค่าอ้างอิงCDC (Centers for Disease Control) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มเลือกนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินตาม สัดส่วนแบบชั้นภูมิ (Proportional Stratified Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีค่าเฉลี่ยนํ้าหนักตัว ส่วนสูง และดัชนีมวลกายสูง กว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เด็กที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีความถี่ของการบริโภคอาหารมื้อ เช้าตํ่ากว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกินแ ต่พฤติกรรมการบริโภคของทอด ของมัน และขนมขบเคี้ยว บรรจุห่อของเด็กทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันนอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นและมื้อดึกเป็นมื้อหนักมีความสัมพันธ์กับระดับภาวะโภชนาการเกิน โดยเด็กที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีพฤติกรรมการ รับประทาน อาหารมื้อเย็นและมื้อดึกเป็นมื้อหนักมากกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน( ร้อยละ 56.8 ต่อ ร้อยละ 43.3) สองในสามของสื่อโฆษณาที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กทั้งสองกลุ่มคือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ เกี่ยวกับการออกกำลังกายพบว่าเด็กกลุ่มที่มีภาวะนํ้าหนักเกินมีคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายตํ่ากว่ากลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายเป็นประจำกับระดับภาวะโภชนาการเกิน โดยเด็กที่มีภาวะนํ้าหนักเกินและเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกิน ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย3 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า2 0 นาทีเป็นประจำ ร้อยละ 4.7 ต่อ ร้อยละ 21.6 และ ร้อยละ 9.8 ต่อ ร้อยละ 29.1 ตามลำดับ เดก็ ที่มีภาวะนํ้าหนักเกินออกกำลังกายเป็นประจำน้อยกว่าเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อนํ้าหนักเกินอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และส่วนใหญ่มีสัดส่วนการออกกำลังกายเป็นประจำที่ตํ่ากว่าแนวทางปฏิบัติมาตรฐาน สิ่งสำคัญคือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวนั้นพบได้สูงในกลุ่มเด็กที่มีระดับภาวะโภชนาการเกินที่รุนแรงมากขึ้นthaมหาวิทยาลัยมหิดลค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)นักรียนระดับประถมศึกษาพฤติกรรมสุขภาพOpen Access articleวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาJournal of Sports Science and Technologyพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน: กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐมHealth behavior of primary school students with over-nutritional status: A case study in Nakorn Pathom ProvinceArticleสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท)