ธนากร มูลพงศ์วิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์Dhanakorn MulaphongWipapan Trakoonsantiratมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คณะรัฐศาสตร์2022-10-202022-10-202565-10-202564วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 8, ฉบับที่ 1/2 (ม.ค-ธ.ค. 2564), 1-202350-983xhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79937การศึกษานี้มุ่งตอบคำถามสองประการ คือ 1) นักศึกษาไทยให้ความสนใจในประเด็นทางจริยธรรม (moral attentiveness) ในชีวิตประจำวันในระดับใด และ 2) ระดับความสนใจในประเด็นทางจริยธรรมมีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม (prosocial behavior) และการประสบผลสำเร็จในการเรียนของนักศึกษาไทยหรือไม่ ผู้วิจัยพัฒนาตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในประเด็นทางจริยธรรม พฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่น และระดับผลการเรียน (G.P.A.) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจำนวน 857 คน ผลการศึกษาพบว่า มิติย่อยของความสนใจในประเด็นทางจริยธรรม ได้แก่ การตระหนักรู้ในประเด็นทางจริยธรรม (β = .07, p < .05) และ การสะท้อนประเด็นทางจริยธรรมกับประสบการณ์ที่ผ่านมา (β = .44, p < .001) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่นของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับผลการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .10, p < .01) อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้พบว่า การตระหนักรู้ในประเด็นทางจริยธรรม มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับผลการเรียนของนักศึกษา (β = -.09, p < .05) ส่วนการสะท้อนประเด็นทางจริยธรรมกับประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับผลการเรียนของนักศึกษา ผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษานี้แก่นักนโยบายและนักปฏิบัติทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะการมุ่งเสริมสร้างจริยธรรมไปพร้อม ๆ กับการมุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศทางการศึกษาของนักศึกษาThis study was derived from two questions: To what extent do Thai students pay attention to moral issues? and how does moral attentiveness affect prosocial behaviors (i.e., helping behavior) and academic achievement? To answer these questions, the authors developed a structural equation model of the relationships between moral attentiveness, helping behavior, and G.P.A. and tested it on 857 Thai students who were studying for bachelor’s degrees in political science and public administration at a certain Thai university. The authors found that both subdimensions of moral attentiveness—perceptual moral attentiveness and reflective moral attentiveness—had significant positive effects on helping behavior (β = .07, p < .05 and β = .44, p < .001, respectively). In addition, helping behavior was positively related to GPA, as well (β = .10, p < .01). Interestingly, whereas there was no relationship between reflective moral attentiveness and GPA, perceptual moral attentiveness was negative and significant with GPA (β = -.09, p < .05). These empirical results suggest that education policymakers and practitioners should be keenly aware of the relationship between moral attentiveness and academic achievement and should develop strategies or programs that may be beneficial to Thai students, especially in terms of how to uphold moral values while maintaining academic excellence.thaมหาวิทยาลัยมหิดลจริยธรรมความสนใจในประเด็นทางจริยธรรมพฤติกรรมเอื้อสังคมพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นระดับผลการเรียนG.P.A.โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นการวิเคราะห์ตัวแปรคั่นกลางethicsmoral attentivenessprosocial behaviorhelping behaviorGPAstructural equation modeling (SEM)mediation analysisเป็นคนดีมีจริยธรรม จะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นด้วยหรือไม่? การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในจริยธรรม พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่น และระดับผลการเรียน (G.P.A.) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย ด้วยตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้น และการวิเคราะห์ตัวแปรคั่นกลางAre Ethics and Academic Performance Related? Examining the Relationship Between University Students’ Moral Attentiveness, Helping Behavior, and G.P.A. Using Structural Equation Modeling and Mediation AnalysisResearch Articleคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี