Pimsupa ChandanasotthiKwanjai AmnatsatsueRachanee SunsernDechavudh NityasuddhiChanita Praditsathaporn2023-09-122023-09-12201120112023Thesis (Dr.P.H. (Public Health))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89968การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุไทย การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระบุองค์ประกอบของสุขภาพจิต ระยะที่ 2 พัฒนา เครื่องมือและระยะที่ 3 ทดสอบคุณภาพเครื่องมือ ระยะที่1ระบุองค์ประกอบของสุขภาพจิตโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนา กลุ่ม ความตรงตามเนื้อหาได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 13 คนและผู้สูงอายุจำนวน 15 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาอยู่ในระดับสูง (CVI = 0.99) เครื่องมือฉบับร่างจำนวน 100 ข้อ ถูก ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 40 คน ระยะที่ 2 พัฒนาเครื่องมือ ระยะที่3 เครื่องมือถูกทดสอบคุณภาพกับ ผู้สูงอายุจำนวน 1,266 คนที่อาศัยอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ระยะเวลา เก็บข้อมูลระหว่างเดือน สิงหาคม 2552 ถึง มกราคม 2553 ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับดีสำหรับเครื่องที่ พัฒนาใหม่ มีค่าเท่ากับ 0.83 การทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีทดสอบก่อนและหลังพบว่า ความเชื่อมั่น อยู่ในระดับดี มีค่าเท่ากับ 1.00 การทดสอบความตรงตามโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบโดย ใช้วิธีการหมุนแกนแบบ Promax พบว่าสกัดองค์ประกอบได้ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความผูกพันของครอบครัว 2) คุณภาพจิต 3) การให้เกียรติและสนับสนุนทางสังคม 4) สภาวะ จิต และ 5) สมรรถภาพจิต สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 55.8 โดยเครื่องมือทั้งชุดมีจำนวน 32 ข้อ เครื่องมือนี้พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกและผ่านการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ สามารถ นำไปใช้ในการประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุไทยได้ การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเพื่อทดสอบ คุณสมบัติของเครื่องมือซ้ำเพื่อประโยชน์ต่อการประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุไทยต่อไปxii, 161 leavesapplication/pdfengOlder people -- Mental health -- ThailandOlder people -- Mental health -- InstrumentsDevelopment of mental health assessment tool for Thai older adultsการพัฒนาเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุไทยMahidol University