สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐวีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์แสงเทียน อยู่เถาประเสริฐ ลิ่มประเสริฐอนิสา มานะทนSanyapong LimprasertVenunkarn RujiprakSangtien YouthaoPrasert LimprasertAnisa Manatonมหาวิทยาลัยรังสิต. คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คณะสังคมศาสตร์2022-10-202022-10-202565-10-202565วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 9, ฉบับที่ 1 (ม.ค-มิ.ย. 2565), 13-312350-983xhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79941การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาวการณ์ของโรคติดการพนันของคนไทย (2) ศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดการพนัน (3) ศึกษาผลกระทบของโรคติดการพนันที่มีต่อสังคมไทย และ (4) แสวงหาแนวทางในการป้องกันและฟื้นฟูบำบัดโรคติดการพนันในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพนัน ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์โรคติดการพนันในสังคมไทยนั้นมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น โรคติดการพนันเปรียบเสมือนการเสพติด คือ เกิดขึ้นจากการเล่นการพนันอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถที่จะหยุดได้ โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดการพนัน ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน โดยการเรียนรู้จากครอบครัว ความอยากรู้อยากลอง และกลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลต่อการเสี่ยงติดการพนันได้เช่นกัน สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่นั้น พบว่า เกิดจากการแสวงหารางวัลเพื่อเป็นรายได้ และบางกลุ่มเครียดจากการทำงาน ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยงในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่กลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน เนื่องจากมีความต้องการทางด้านเศรษฐกิจที่สูง สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคติดการพนันมี สองปัจจัยคือ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การชอบความเสี่ยง ความท้าทาย และปัจจัยทางสังคม เช่น สภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้อยากเล่นการพนันจากเกิดเป็นการติดพนัน และบางกรณีเข้าข่ายโรคติดการพนัน สำหรับแนวทางในการป้องกันและฟื้นฟูบำบัด ผู้วิจัยเสนอว่า ควรมีการประสานความร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งทางด้านกฎหมาย สังคม และการให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น การมีศูนย์ป้องกันการพนันในชุมชน การให้ความรู้เกี่ยวกับการพนัน นอกจากนี้ควรเป็นการประสานความร่วมมือทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการพนันเพื่อไม่ให้เกิดโรคติดการพนันในชุมชนนั้นเองThe objectives of this qualitative research were fourfold: (a) to examine the current situation of pathological gambling in Thailand; (b) to explore the risk factors affecting pathological gambling among Thai people; (c) to investigate the impacts of pathological gambling on the Thai society; and (d) to provide recommendations for preventive and rehabilitative measures of gambling addiction among Thai people. The research methods used in this study involved interviews and focus groups with experts in the field of gambling. The findings of this research revealed that pathological gambling in Thailand has become more severe. It is an alarming risk for people in the society similar to other kinds of addiction. It is a mental disorder which involves repeated and uncontrollable problematic gambling behavior, while the risk groups include children and teenagers who socially learn the behavior from their families and peers. Curiosity also plays a huge role in exposure to gambling addiction. For adults, it was found out that this group of populations tend to gamble either as a source of incomes or for relaxation. The risk groups include career starters who have high economic demands. The major factors causing gambling addiction are individual factors such as risk-taking behavior and excitement from challenge, and social factors such as the environment. These factors encourage individuals to gamble and even become addicted to gambling. In terms of preventive measures, there should be cooperation between different public and private sectors legally and socially. Moreover, there should be public awareness raising towards the establishment of local gambling prevention centers and public lectures on gambling. Citizen participation should be involved to prevent gambling addiction in local communities as well.thaมหาวิทยาลัยมหิดลโรคติดการพนันการพนันการป้องกันการเสพติดพนันpathological gamblinggamblinggambling preventionโรคติดการพนัน: สภาวการณ์และแนวทางในการป้องกันPathological Gambling: Current Situation and Preventive MeasuresResearch Articleคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย