ศศิธร พินพาทวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชศรินรัตน์ ศรีประสงค์ยงค์ รงค์รุ่งเรืองSasithorn PinphatWimolrat PuwarawutipanichSarinrut SriprasongYong Rongrungrueangมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล2022-03-292022-03-292565-03-292565วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มี.ค. 2565), 99-111https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64412วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ การรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา การรับรู้ด้านผลที่ตามมา การรับรู้ด้านความสามารถในการควบคุม/รักษา การรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย และการตอบสนองทางอารมณ์ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 123 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมฉบับย่อ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วยฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 66.52 ปี เป็นชายร้อยละ 51.2 ใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลเฉลี่ย 33 ชั่วโมง 50 นาที ปัจจัยที่ศึกษาสามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลได้ร้อยละ 34.9 (R2 = .35) โดยการรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา และการรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย (สาเหตุที่สัมพันธ์กับโรคและไม่ทราบสาเหตุ) สามารถทำนายระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา การรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย เป็นปัจจัยทำนายการตัดสินใจมาโรงพยาบาลได้ และเป็นประโยชน์กับพยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนาโปรแกรม หรือเป็นแนวทางการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติในการติดตามเฝ้าระวังอาการ อาการแสดงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด นำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมในการมาโรงพยาบาลPurpose: To explore the duration of time-to-hospital decisions in patients with sepsis and its influencing factors including identity (perceived symptoms), time-line (perceived duration of the illness), consequences (expected effects and outcome), cause (perceived etiology), cure control, and emotional response. Design: Correlational predictive design. Methods: The subjects were 123 patients with sepsis aged 18 years and over and admitted to a tertiary care hospital in Bangkok. The instruments consisted of three questionnaires: Mini-Cog for patients aged over 60 years, Demographic Data Form, and Brief Illness Perception questionnaire. Descriptive statistics, one-way ANOVA, and multiple linear regression were used for data analysis. Main findings: The sample had a mean age of 66.52 years, and 51.2% were males. The duration of time-to-hospital decisions was 33 hours 50 minutes. All study factors could together explain 34.9% (R2 = .35) of the variance in the duration of time-to-hospital decisions. The significant predicting factors included identity, timeline, and cause (cause-related illness and unknown cause). Conclusion and recommendations: Identity, timeline, and cause could predict the duration of time-to-hospital decision. The results are beneficial to nurses and health team for developing an intervention or guidance for patients and relatives to be able to monitor signs and symptoms of sepsis which leads to make an appropriate decision for hospital visit.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการตอบสนองทางอารมณ์การรับรู้การเจ็บป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดการตัดสินใจมาโรงพยาบาลemotional responseillness perceptionsepsistime-to-hospital decisionวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดFactors Influencing Time-to-hospital Decision in Patients with SepsisResearch Articleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล